บาลีวันละคำ

อทินนาทาน (บาลีวันละคำ 1,153)

อทินนาทาน

อ่านว่า อะ-ทิน-นา-ทาน

บาลีเป็น “อทินฺนาทาน” อ่านว่า อะ-ทิน-นา-ทา-นะ

ประกอบด้วย อทินฺน + อาทาน

(๑) “อทินฺน” (อะ-ทิน-นะ) รากศัพท์มาจาก (ไม่, ไม่ใช่) + ทินฺน (สิ่งใดๆ ที่มีผู้ยกให้), แปลง เป็น (ตามกฎไวยากรณ์ที่ว่า ถ้าศัพท์ที่มาต่อท้าย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น )

: + ทินฺน = นทินฺน > อทินฺน แปลว่า สิ่งที่ไม่มีผู้ยกให้, สิ่งที่เจ้าของมิได้ยกให้

(๒) “อาทาน” (อา-ทา-นะ) ประกอบด้วย อา (ทั่วไป, กลับความ) + ทาน

(1) ทาน รากศัพท์มาจาก ทา (ธาตุ = ให้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ทา + ยุ > อน = ทาน แปลตามศัพท์ว่า “การให้” “สิ่งที่ให้

คำว่า “ทาน” มีความหมายว่า –

๑ การให้, ยกมอบแก่ผู้อื่น, ให้ของที่ควรให้ แก่คนที่ควรให้ เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

๒ สิ่งที่ให้, ทรัพย์สินสิ่งของที่มอบให้หรือแจกออกไป

(2) อา + ทาน = อาทาน

อา” ในที่นี้ทำหน้าที่ “กลับความ” เช่น –

คม หมายถึง “ไป

อาคม กลับความ หมายถึง “มา

ดังนั้น ทาน แปลว่า “ให้

อาทาน กลับความ จึงหมายถึง “เอา” คือ รับเอา ถือเอา

อทินฺน + อาทาน = อทินฺนาทาน จึงแปลว่า การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ยกให้ คำพูดสามัญว่า ลักทรัพย์

อทินฺนาทาน เขียนแบบไทยเป็น “อทินนาทาน” (ไม่มีจุดใต้ ที่ –ทิน-) เป็นศีลข้อที่ 2 ในศีล 5 ศีล 8 และศีล 10 และเป็นอาบัติปาราชิกสิกขาบทที่ 2 ในจำนวน 4 สิกขาบท

องค์ประกอบที่ตัดสินว่าเป็น “อทินนาทาน” มี 5 คือ :

(1) ปรปริคฺคหิตํ ทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่น และเจ้าของยังทรงสิทธิ์ครอบครองหวงแหนอยู่

(2) ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา ผู้กระทำผิดรู้ข้อเท็จจริงตามข้อต้นนั้น

(3) เถยฺยจิตฺตํ มีเจตนาที่จะได้ทรัพย์นั้นมาครอบครองโดยที่เจ้าของมิได้ยินยอมพร้อมใจ

(4) อุปกฺกโม ลงมือกระทำการ

(5) เตน  หรณํ ได้ทรัพย์นั้นมาครอบครองโดยผลแห่งการกระทำนั้น

หมายเหตุ :

ถ้าผู้กระทำเป็นภิกษุ และทรัพย์นั้นมีมูลค่าตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป (มาสก : ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท.-พจน.54) เมื่อครบองค์ประกอบ ย่อมขาดจากความเป็นภิกษุทันที โดยไม่ขึ้นกับคำวินิจฉัยใดๆ แม้ยังครองเพศภิกษุอยู่ ก็อยู่ในฐานะ “ลักเพศ” คือขโมยเพศของภิกษุมาครองโดยไม่มีสิทธิ์ เท่ากับเป็นขโมย 2 ชั้น ชั้นหนึ่งขโมยทรัพย์ อีกชั้นหนึ่งขโมยเพศ

: คิดจะให้ ก็เบา

: คิดจะเอา ก็หนัก

22-7-58

ต้นฉบับ