บาลีวันละคำ

อพรหมจริยา (บาลีวันละคำ 1,161)

อพรหมจริยา

ประกอบด้วย + พรหม + จริยา

(๑) “พรหมจริยา” ประกอบด้วย พรหม + จริยา

(ก) “พรหม” บาลีเป็น “พฺรหฺม” (มีจุดใต้ พฺ และใต้ หฺ) รากศัพท์คือ พฺรหฺ (ธาตุ = เจริญ, ประเสริฐ) + ปัจจัย

: พฺรหฺ + = พฺรหฺม แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เจริญด้วยคุณ

พฺรหฺม” เขียนแบบคำอ่านตามอักขรวิธีไทยที่นิยมกัน ท่านให้ใส่เครื่องหมายไว้บนอักษร และ ใส่ไม้หันอากาศบน เป็นดังนี้ = พ๎รัห๎มะ

คำว่า “พฺรหฺม” ออกเสียงอย่างไร ?

ลองออกเสียงว่า พะ-ระ-หะ-มะ ช้าๆ แล้วค่อยๆ เร่งให้เร็วขึ้น จะได้เสียงที่ถูกต้องของคำว่า “พฺรหฺม” ในบาลี

แต่โดยทั่วไป นักเรียนบาลีในเมืองไทยออกเสียงว่า พรม-มะ หรือ พรำ-มะ ภาษาไทยออกเสียงว่า พรม (เสียงเดียวกับ ประพรมน้ำมนต์ พรมปูพื้น)

ในแง่ภาษา คำว่า “พรหม” ในคัมภีร์บาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ความดีประเสริฐสุด

(2) คัมภีร์พระเวท, สูตรลึกลับ, คาถา, คำสวดมนต์

(3) เทพผู้ยิ่งใหญ่ในศาสนาพราหมณ์ ถือกันว่าเป็นผู้สร้างจักรวาล

(4) เทวดาพวกหนึ่งที่อยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นสูงที่เรียกว่า พรหมโลก

(5) สิ่งศักดิ์สิทธิ์, คนศักดิ์สิทธิ์

ในแง่ตัวบุคคล คำว่า “พรหม” หมายถึง –

(1) เทพสูงสุดหรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์

(2) เทพในพรหมโลก เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม มี 2 พวกคือ รูปพรหม มี 16 ชั้น อรูปพรหม มี 4 ชั้น

(3) ผู้ประเสริฐด้วยคุณธรรม 4 ประการ คือ เมตตา (ปรารถนาให้อยู่เป็นปกติสุข) กรุณา (ตั้งใจช่วยเพื่อให้พ้นจากปัญหา) มุทิตา (ยินดีด้วยเมื่อมีสุขสมหวัง) อุเบกขา (วางอารมณ์เป็นกลางเมื่อได้ทำหน้าที่ถูกต้องครบถ้วนแล้ว)

(ข) “จริยา” (จะ-ริ-ยา)

รากศัพท์มาจาก จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ, ดำเนินไป) + อิย ปัจจัย (บางท่านว่าลง ณฺย ปัจจัย ลบ ลง อิ อาคม ไม่ทีฆะต้นธาตุตามอำนาจของปัจจัยเนื่องด้วย )

(1) : จรฺ + อิย = จริย

(2) : จรฺ + อิ = จริ + ณฺย > = จริย

(3) : จริย + อา (ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์) = จริยา

คำนี้เป็นได้ทั้ง “จริย” (นปุงสกลิงค์) และ “จริยา” (อิตถีลิงค์)

จริยจริยา” เป็นคำนามแปลว่า “การประพฤติ” เป็นคุณศัพท์แปลว่า “-ที่ควรประพฤติ

พฺรหฺม + จริย = พฺรหฺมจริย > พฺรหฺมจริยา > พรหมจริยา เป็นคำเดียวกับที่ในภาษาไทยใช้ว่า “พรหมจรรย์

พรหมจรรย์” หมายถึงอะไร ?

ขอสรุปความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต มาเสนอไว้ในที่นี้ดังนี้ :

(1) พรหมจรรย์ ความหมายตามศัพท์คือ “จริยะอันประเสริฐ”, “การครองชีวิตประเสริฐ

(2) ตามที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึงความประพฤติเว้นเมถุน หรือการครองชีวิตดังเช่นการบวชที่ละเว้นเมถุน กล่าวคือไม่ร่วมประเวณีเป็นหลักสำคัญ และตั้งหน้าขัดเกลาจิตให้บริสุทธิ์

(3) พรหมจรรย์ ยังมีความหมายอีกมากหลาย ดังที่อรรถกถาแห่งหนึ่งประมวลไว้ 10 นัย คือหมายถึง (1) ทาน (2) ไวยาวัจจะ (คือการขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ทำประโยชน์) (3) เบญจศีล (4) พรหมวิหารสี่ (5) เมถุนวิรัติ (คือการเว้นเมถุน) (6) สทารสันโดษ (คือความพอใจเฉพาะภรรยาหรือคู่ครองของตน) (7) ความเพียร (8) การรักษาอุโบสถ (9) อริยมรรค (10) พระศาสนา (อันรวมไตรสิกขาทั้งหมด)

(4) “พรหมจรรย์” เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกหลักคำสอนของพระองค์เมื่อทรงเริ่มประกาศพระศาสนา พรหมจรรย์จึงหมายถึงตัวพระพุทธศาสนาทั้งหมดนั่นเอง

(5) ในศาสนาพราหมณ์ พรหมจรรย์ หมายถึงการครองชีวิตเว้นเมถุนและประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดต่างๆ ที่จะควบคุมตนให้มุ่งมั่นในการศึกษาได้เต็มที่ อันหมายถึงการศึกษาพระเวท และหมายถึงช่วงเวลาหรือขั้นตอนของชีวิตที่พึงอุทิศเพื่อการศึกษาอย่างนั้น

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พรหมจรรย์ : (คำนาม) การศึกษาปรมัตถ์, การศึกษาพระเวท; การถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, การบวชซึ่งเว้นเมถุนเป็นต้น. (ส.).”

(๒) + พฺรหฺมจริยา

คำเดิมคือ (ไม่, ไม่ใช่) + พฺรหฺมจริยา

ตามกฎบาลีไวยากรณ์ คำที่ “” ไปผสม ถ้าขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) ให้แปลง เป็น “อน” (อะ-นะ) เช่น –

: + อาคต (มาแล้ว) = อนาคต (ยังไม่มา)

แต่ถ้าคำที่ “” ไปผสม ถ้าขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ เช่นคำนี้คือ “พฺรหฺมจริยา” ให้แปลง เป็น “” (อะ) ดังนั้น : + พฺรหฺมจริยา = อพฺรหฺมจริยา

อพฺรหฺมจริย > อพฺรหฺมจริยา > อพรหมจริยา > อพรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติที่ไม่ประเสริฐ (unchastity) ความหมายเฉพาะคือ การมีความสัมพันธ์ทางเพศ และหมายรวมถึงการสัมผัสที่มีเจตนานำไปสู่ความสัมพันธ์ทางเพศด้วย

อพรหมจริยา” เป็นศีลข้อที่ 3 ในศีล 8 และศีล10 เป็นข้อที่ใช้แทน “กาเมสุมิจฉาจาร” ในศีล 5

ความแตกต่างระหว่าง อพรหมจริยา กับ กาเมสุมิจฉาจาร :

กาเมสุมิจฉาจาร : ผิดเฉพาะเมื่อปฏิบัติกับบุคคลต้องห้าม แต่ไม่ห้ามกับคู่ครองของตน

อพรหมจริยา : ห้ามทั้งหมด แม้กับคู่ครองของตน

องค์ประกอบที่ตัดสินว่าเป็น “อพรหมจริยา” มี 4 คือ :

(1) อชฺฌาจรณียวตฺถุ มี “วัตถุ” (บุคคลหรือสิ่งของ) ที่จะเสพ

(2) ตตฺถ  เสวนจิตฺตํ มีเจตนาที่จะเสพ

(3) เสวนปฺปจฺจยปฺปโยโค ปฏิบัติการตามเจตนา

(4) สาทิยนํ ยินดีพอใจในการปฏิบัตินั้น

——–

อะไรเอ่ย ?

: ขึ้นสวรรค์ชั่วอึดใจ

: แต่ตกนรกนั้นไซร้ยาวนาน

30-7-58

ต้นฉบับ