บาลีวันละคำ

จงกรม (บาลีวันละคำ 1,163)

จงกรม

อ่านว่า จง-กฺรม (กฺร- ควบ)

บาลีเป็น “จงฺกม” อ่านว่า จัง-กะ-มะ

จงฺกม” รากศัพท์มาจาก –

(1) กม (ก้าวไป, ย่างไป) + อากม (ก้าวมา, ย่างกลับ), แปลง ที่ -(ม) เป็น , ลบ อา ที่ –อา-(กม), แปลง ที่ (จ)- เป็นนิคหิต, แปลงนิคหิตเป็น งฺ

: กม + อากม = กมากม > จมากม > จมกม > จํกม > จงฺกม แปลตามศัพท์ว่า “การก้าวไปก้าวมา

(2) กมฺ (ธาตุ = ก้าวไป) + ปัจจัย, ซ้อน หน้าธาตุ, แปลง เป็น , ลงนิคหิตอาคมที่ , แปลงนิคหิตเป็น งฺ

: กมฺ + = กม > กกม > จกม > จํกม > จงฺกม แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ก้าวไป

จงฺกม” มีความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) การเดินไปเดินมา, เดินจงกรม (walking up & down) = การเดินจงกรม

(2) สถานที่ซึ่งคนเดิน, ที่เดินจงกรม (the place where one is walking, a terraced walk, cloister) = สถานที่สำหรับเดินจงกรม

จงฺกม” ในภาษาไทยใช้อิงสันกฤตเป็น “จงกรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จงกรม : (คำกริยา) เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม. (ส.; ป. จงฺกม).”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “จงฺกฺรมณ” บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

จงฺกฺรมณ : (คำนาม) ‘จงกรมณ์,’ ผู้เดิรไปช้าๆ; การไป, การเดิรไปช้าๆ; one who goes slowly; going, proceeding slowly.”

ข้อควรเข้าใจ :

ในทางธรรม “จงกรม” เป็นกระบวนการปฏิบัติจิตภาวนาโดยอิริยาบถเดิน มีความมุ่งหมายให้ผู้ปฏิบัติใช้สติกำหนดให้รู้ทันทุกจังหวะของการก้าวเดิน

จังหวะการเดินจงกรมที่ให้ยก-ย่าง-เหยียบ ช้าๆ นั้นเป็นเพียง “ภาคฝึกหัด” ให้สติกำหนดทันอิริยาบถย่อย ความมุ่งหมายที่แท้จริงคือแม้ในการเดินตามปกติในชีวิตประจำวันก็ให้มีสติกำหนดรู้ทันเท่ากับที่เดินช้าๆ นั้นด้วย

ผลพลอยได้ของการเดินจงกรม คือเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ แก้ความเมื่อยขบจากการนั่ง เป็นการออกกำลังแบบเบาๆ และบรรเทาความง่วงซึม

: นิพพานอยู่ไม่ไกล

: เพียงแค่เดินกลับไปกลับมา

———–

(ชำระหนี้ข้ามปีแด่พระคุณท่าน Sunant Phramaha ที่ถามมาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2556)

1-8-58

ต้นฉบับ