บาลีวันละคำ

เอราวัณ (บาลีวันละคำ 1,178)

เอราวัณ

อ่านว่า เอ-รา-วัน

เอราวัณ” บาลีเป็น “เอราวณ” (เอ-รา-วะ-นะ) รากศัพท์มาจากรูปวิเคราะห์ ( = การหาความหมายโดยวิธีแยกศัพท์) ว่า –

: อิราวโณ นาม สมุทฺโท, ตตฺร ชาโต = เอราวโณ

อิราวณ + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ อิ-(ราวณ) เป็น เอ

: อิราวณ + = อิราวณณ > อิราวณ > เอราวณ แปลตามศัพท์ว่า “ช้างที่เกิดในแถบสมุทรอิราวัณ

(ควรหาความรู้ต่อไปว่า สมุทรอิราวัณคือสถานที่แห่งใด)

เอราวณ” เป็นชื่อช้างของพระอินทร์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เอราวัณ : (คำนาม) ช้าง ๓๓ เศียรเป็นพาหนะของพระอินทร์. (ป. เอราวณ; ส. ไอราวณ).”

เอราวณ” ในภาษาไทยใช้เป็น เอราวัณ ไอราวัณ ไอราวัต ไอราพต และที่ตัดและแปลงเป็น ไอยรา ก็มี

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “ไอราวต” บอกไว้ดังนี้ –

ไอราวต : (คำนาม) ช้างของพระอินทร์, ช้างประจำทิศเหนือ; ส้ม; ผลไม้; พญานาค; ฟ้าแลบ; Indra’s elephant, the elephant of the north quarter; an orange; a fruit; a Nāga chief; lightning.”

เรื่องควรรู้ :

(๑) ในคัมภีร์บาลีเล่าไว้ว่า ในอดีตชาติ ช้างเอราวัณเป็นช้างหลวงที่พระราชาพระราชทานให้กลุ่มคน 33 คนใช้สำหรับบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เมื่อคนกลุ่มนี้ตายไปก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ หัวหน้าได้เป็นพระอินทร์ ช้างเชือกนั้นก็ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์เช่นเดียวกัน ชื่อ “เอราวัณเทพบุตร” เมื่อพระอินทร์กับเหล่าเทวดากลุ่มนั้นจะไปประพาสสวนสวรรค์ เอราวัณเทพบุตรก็เนรมิตกายเป็นช้างมี 33 เศียรให้พระอินทร์กับเทวดานั่งประจำแต่ละเศียร

(ดูรายละเอียดในธัมมปทัฏฐกถา ภาค 2 : สกฺกวตฺถุ)

(๒) นักภาษาบอกว่า คำว่า elephant (ช้าง) ในภาษาอังกฤษเป็นคำเดียวกับ เอราวัณ (เอราวณ) ในบาลี

เอราวัณ เป็น elephant ได้อย่างไร ?

(1) เอราวัณ ถอดเป็นอักษรโรมันคือ Erāvaṇa อ่านว่า เอ-รา-วะ-นะ (ปกติ n = น จุดใต้ ṇ ทำให้ ṇ = ณ)

(2) Erā- เพี้ยนเป็น ele- (R เป็น L คงทำนองเดียวกับที่คนไทยออกเสียง ร เป็น ล)

(3) -vaṇa : V ในภาษาอังกฤษออกเสียงเป็น หรือ ได้ เช่น

navy ออกเสียงว่า เน-ฝิ (คนไทยคุ้นกับการออกเสียงว่า เน-วี่)

naval ออกเสียงว่า เน-แฝ็ล

(พจนานุกรม สอ เสถบุตร)

(4) ดังนั้น -vaṇa ก็คือ ฝะ-นะ หรือ ฟัน-นะ ซึ่งก็คือ -phant ในคำว่า elephant

(5) และดังนั้น Erāvaṇa (เอ-รา-วะ-นะ) > เอ-รา-วัณ > เอ-รา-ฟัน > เอ-ลา-ฟัน > เอ-ลิ-ฟัน > เอล-อิ-แฟ็น = elephant (เอล-อิ-แฟ็นท)

ความดี :

: สัตว์เดรัจฉานยังทำได้

: มนุษย์เป็นอะไรจึงจะไม่ทำ?

20-8-58

ต้นฉบับ