บาลีวันละคำ

ปริยาย – บรรยาย (บาลีวันละคำ 1,188)

ปริยาย – บรรยาย

(๑) “ปริยาย

บาลีอ่านว่า ปะ-ริ-ยา-ยะ รากศัพท์มาจาก ปริ (รอบด้าน, และแทนศัพท์ ปริพฺยตฺต = ชัดเจน) + อยฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , ลง อาคมหน้าธาตุ ( + อยฺ = ยยฺ) ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ยฺ) เป็น อา (อยฺ > อายฺ : ยย > ยาย)

: ปริ + + อยฺ = ปริยย + = ปริยยณ > ปริยย > ปริยาย แปลตามศัพท์ว่า (1) “วิธีที่ยังเนื้อความที่พึงแสดงให้เป็นไปรอบด้าน” (2) “วิธีเป็นเครื่องถึงคือรู้เนื้อความที่ชัดเจน

ปริยาย” ในบาลีใช้ในความหมายหลายหลาก กล่าวคือ :

(1) การจัดแจง, การจัดการ, การออกนอกทาง, ทางอ้อม; การเปลี่ยนนิสัย (arrangement, disposition, going out of one’s way, detour; change of habit)

(2) ลำดับ, การสืบลำดับ, วาระ, ระยะเวลา (order, succession, turn, course)

(3) สิ่งที่ดำเนินไป, ทางปฏิบัติ, ความเคยชิน, คุณภาพ, สมบัติ (what goes on, way, habit, quality, property)

(4) การอภิปราย, การสอน, วิธีการ (สอน), หลักสูตร, การบรรยาย (discussion, instruction, method (of teaching), discourse, representation)

(5) วิธีสอนในพระสูตร โดยสอนแบบถกเถียงหาเหตุผลเพื่อให้คนเข้าใจ, วิธีสอนประยุกต์, การสอนอย่างมีอุทาหรณ์ (the mode of teaching in the Suttanta, ad hominem, discursively, applied method, illustrated discourse)

(6) วิธี, วิธีการ, เหตุผล, ต้นเหตุ, การณ์ (mode, manner, reason, cause, way)

(7) สิ่งที่พันไปรอบ- (ต้นไม้) : กิ่งไม้ (winding round: branch)

ปริยาย” ในภาษาไทยใช้เท่ารูปบาลี คือ “ปริยาย” อ่านว่า ปะ-ริ-ยาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปริยาย : (คำนาม) อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. (คำวิเศษณ์) อ้อม; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออกอย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).”

ในภาษาไทย คำว่า “ปริยาย” มักพูดควบกับคำว่า “โดย” เป็น “โดยปริยาย” มีความหมายว่า ไม่ใช่เช่นนั้นตรงๆ แต่เท่ากับเช่นนั้น เช่น –

อ่านบาลีวันละคำทุกวันเหมือนได้อ่านพระไตรปิฎกโดยปริยาย

(๒) “บรรยาย

อ่านว่า บัน-ยาย และ บัน-ระ-ยาย (ตาม พจน.54) คำนี้ท่านว่าแผลงมาจาก “ปริยาย” นั่นเอง ทำนองเดียวกับ –

ปริสา > บริษัท แผลงเป็น บรรษัท

ปริหาร > บริหาร แผลงเป็น บรรหาร

ปริยาย แผลงเป็น บรรยาย

พจน.54 บอกไว้ว่า –

บรรยาย : (คำกริยา) ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกํากับไว้. (ส.).”

: เจริญสติรู้ตัวให้ทั่วพร้อม

: อะไรจะมาตรงหรือมาอ้อม ก็รู้ทัน

30-8-58

ต้นฉบับ