บาลีวันละคำ

ชนบท (บาลีวันละคำ 1,190)

ชนบท

คำที่คุ้นหน้าคุ้นตาในภาษาไทย

อ่านว่า ชน-นะ-บด

บาลีเป็น “ชนปท” อ่านว่า ชะ-นะ-ปะ-ทะ

ชนปท” ถ้าแยกศัพท์ก็จะเป็น ชน + ปท

(๑) “ชน” (ชะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ปัจจัย

: ชนฺ + = ชน แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้ยังกุศลหรืออกุศลให้เกิดได้” เป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะธรรมดาของคน ดีก็ทำได้ ชั่วก็ทำได้

(2) “ผู้ยังตัวตนให้เกิดตามกรรม” หมายความว่า นอกจากทำกรรมได้แล้ว ยังทำ “ตัวตน” (คน) ให้เกิดได้อีก

ชน” หมายถึง บุคคล, สัตว์, คน (an individual, a creature, person, man)

(๒) “ปท” (ปะ-ทะ) รากศัพท์มาจาก ปทฺ (ธาตุ = บรรลุ, ถึง) + ปัจจัย

: ปทฺ + = ปท แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สภาวะอันพระอริยะบรรลุ” = นิพพาน

(2) “สิ่งเป็นเหตุเป็นไปแห่งผล” = เหตุ, เค้ามูล, ปัจจัย

(3) “อวัยวะเป็นเครื่องเดินไป” = เท้า

ปท” โดยทั่วไปแปลว่า เท้า, รอยเท้า, ทาง (foot, footstep, track)

ในภาษาไทยมักใช้ทับศัพท์ว่า “บท

(๓) “ชนปท” รากศัพท์มาจาก ชน (คน, ผู้คน) + ปทฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ปัจจัย

: ชน + ปทฺ + = ชนปท แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นที่ถึงความเป็นอยู่สบายแห่งผู้คน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ชนปท” ไว้ดังนี้ –

(1) inhabited country, the country (opp. town or market-place), the continent (ท้องที่ที่มีผู้คน, บ้านนอก (ตรงข้ามเมืองหรือย่านตลาด), ผืนแผ่นดินใหญ่)

(2) politically: a province, district, county (ในทางปกครอง: จังหวัด, อำเภอ, ชนบท, หัวเมือง, มณฑล)

ชนปท” ในภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “ชนบท

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ชนบท : (คำนาม) บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป. (ป., ส. ชนปท).

: ถ้าแยกดีแยกชั่วไม่ออก

: อยู่เมืองหลวงหรือบ้านนอกก็วุ่นวายพอๆ กัน

1-9-58

ต้นฉบับ