บาลีวันละคำ

ฉายาลักษณ์-สาทิสลักษณ์ (บาลีวันละคำ 1,195)

ฉายาลักษณ์-สาทิสลักษณ์

อ่านว่า ฉา-ยา-ลัก / สา-ทิด-สะ-ลัก

(๑) “ฉายา

รากศัพท์มาจาก ฉิ (ธาตุ = ตัด) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ ฉิ เป็น อา (ฉิ > ฉา) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ฉิ > ฉา + = ฉาย + อา = ฉายา แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สิ่งที่ตัดความสงสัย” หมายถึง เค้ารูป, ลักษณะที่เหมือน (image)

(2) “สิ่งที่ตัดความเหน็ดเหนื่อย” หมายถึง ที่ร่ม, ร่มเงา (shade, shadow)

ในที่นี้ “ฉายา” ใช้ในความหมายตามข้อ (1)

(๒) “สาทิส

บาลีอ่านว่า สา-ทิ-สะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สมาน (เหมือนกัน, เท่ากัน) + ทิสฺ (ธาตุ = ดู, เห็น) + ปัจจัย, แปลง สมาน เป็น

: สมาน > + ทิสฺ + = สทิส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ดูเสมอกัน

(2) สทิส + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ทิส) เป็น อา (สทิส > สาทิส)

: สทิส + = สทิสณ > สทิส > สาทิส แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งสิ่งที่ดูเสมอกัน

สาทิส” หมายถึง เหมือนกัน, เช่นกัน, เท่ากัน (similar, like, equal)

(๓) “ลักษณ์

บาลีเป็น “ลกฺขณ” (ลัก-ขะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ลกฺขฺ (ธาตุ = กำหนด) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง เป็น

: ลกฺขฺ + ยุ > อน = ลกฺขน > ลกฺขณ แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “สภาวะอันธรรมดากำหนดไว้อย่างนั้นนั่นเอง

๒) “สิ่งเป็นเครื่องอันเขาใช้กำหนดหมาย

ลกฺขณ” หมายถึง สัญลักษณ์, เครื่องหมาย, เครื่องหมายที่เด่นหรือลักษณะที่สำคัญ, คุณภาพ (sign, characteristic, mark, a distinguishing mark or salient feature, property, quality)

ลกฺขณ” ใช้ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ลักษณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ลักษณ-, ลักษณะ : (คำนาม) สมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว ลูกบิลเลียดมีลักษณะกลม ลูกเต๋ามีลักษณะเหลี่ยม คนไทยมีลักษณะอ่อนโยน; ประเภท เช่น ใน ๓ ลักษณะ. (ส.; ป. ลกฺขณ).”

การผสมคำและความหมายในภาษาไทย :

(1) ฉายา + ลักษณ = ฉายาลักษณ > ฉายาลักษณ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ฉายาลักษณ์ : (คำราชาศัพท์) (คำนาม) รูปถ่าย, ใช้ว่า พระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์.”

(2) สาทิส + ลักษณ = สาทิสลักษณ > สาทิสลักษณ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สาทิสลักษณ์ : (คำราชาศัพท์) (คำนาม) ภาพเขียนเหมือนบุคคลจริง, พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ หรือพระฉายาสาทิสลักษณ์ ก็ใช้.”

กำหนดง่ายๆ เพื่อไม่ให้สับสน :

ฉายาลักษณ์ หมายถึง ภาพที่ถ่ายจากตัวบุคคลจริง

สาทิสลักษณ์ หมายถึง ภาพที่วาดขึ้นให้เหมือนบุคคลจริง

: ทำให้ดี แต่อย่าทำให้ดูเหมือนดี

————-

(ชำระหนี้บางส่วนจากคำถามของ Khun Kim ตั้งแต่ 8 ก.ค.57)

6-9-58

ต้นฉบับ