บาลีวันละคำ

อุทาหรณ์ (บาลีวันละคำ 1,200)

อุทาหรณ์

อ่านว่า อุ-ทา-หอน

บาลีเป็น “อุทาหรณ” อ่านว่า อุ-ทา-หะ-ระ-นะ

อุทาหรณ” รากศัพท์มาจาก อุ (ขึ้น) + อา (ทั่วไป, ยิ่ง; กลับความ เช่น ไป กลับเป็น มา นำไป กลับเป็น นำมา) + หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ยุ ปัจจัย, ลง อาคมระหว่าง อุ กับ อา, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง เป็น

: อุ + + อา = อุทา +

: อุทา + หรฺ = อุทาหร +

: อุทาหร + ยุ > อน = อุทาหรน > อุทาหรณ แปลตามศัพท์ว่า “การยกขึ้นนำมา” > “สิ่งอันเขานำมาแสดงเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ทำ

กฎไวยากรณ์น่ารู้ :

(1) ยุ ปัจจัย แปลงเป็น อน (อะ-นะ) เสมอ

(2) ถ้าที่สุดธาตุเป็น –รฺ เช่น กรฺ (ทำ) สรฺ (ระลึก) หรฺ (นำไป) เมื่อแปลง ยุ เป็น อน แล้วมักแปลง – ( หนู) เป็น – ( เณร)

: กรฺ + ยุ > อน = กรน > กรณ = การกระทำ

: สรฺ + ยุ > อน = สรน > สรณ = การระลึก

: หรฺ + ยุ > อน = หรน > หรณ = การนำไป

อุทาหรณ” หมายถึง ตัวอย่าง, สิ่งอ้างอิง, เรื่องที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่าง

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อุทาหรณ : (คำนาม) ‘อุทาหรณ์,’ ตัวอย่าง; เรื่องเหมาะ ( = วาทะอันสมเหตุสมผล); วิธีใช้หัวคิดหนึ่งในห้าอย่าง; คำกล่าว, คำแสดง; an example or illustration; an apposite argument; one of five modes of logical reasoning; a declaration, a saying.”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุทาหรณ” ว่า example, instance

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล example และ instance เป็นบาลีเหมือนกัน คือ –

(1) udāharaṇa อุทาหรณ (อุ-ทา-หะ-ระ-นะ) = การยกตัวอย่างมาแสดง

(2) nidassana นิทสฺสน (นิ-ทัด-สะ-นะ) = การแสดงให้เห็น

ในภาษาไทยมีคำที่นิยมพูดควบกันว่า “นิทัศนอุทาหรณ์

อุทาหรณ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อุทาหรณ์” (การันต์ที่ )

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุทาหรณ์ : (คำนาม) ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็น, สิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมาเทียบเคียงเป็นตัวอย่าง. (ป., ส.).”

และที่คำว่า “นิทัศน์” บอกไว้ว่า –

นิทัศน์ : (คำนาม) ตัวอย่างที่นํามาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์, บางทีใช้ว่า นิทัศนอุทาหรณ์. (ส. นิทรฺศน; ป. นิทสฺสน).”

: ทำดี ไม่มีใครรู้จักตัว

: ประเสริฐกว่าทำชั่วจนเขายกเป็นอุทาหรณ์

11-9-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย