บาลีวันละคำ

ประภัสสร (บาลีวันละคำ 1,207)

ประภัสสร

อ่านว่า ปฺระ-พัด-สอน

บาลีเป็น “ปภสฺสร” อ่านว่า ปะ-พัด-สะ-ระ

ปภสฺสร” รากศัพท์มาจาก –

(1) ปภา (รัศมี) + สรฺ (ธาตุ = ซ่านออก) + ปัจจัย, ซ้อน สฺ ระหว่างบทหน้ากับธาตุ (ปภา + สฺ + สรฺ), ลบ อา ที่สุดของบทหน้า (ปภา > ปภ)

: ปภา > ปภ + สฺ + สรฺ = ปภสฺสร + = ปภสฺสร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นแดนซ่านออกแห่งรัศมี

(2) (ทั่วไป, ข้างหน้า) + ภสฺ (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง) + อร ปัจจัย, ซ้อน สฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (นัยหนึ่งว่าลง อาคม) (ภสฺ + + อร)

: + ภสฺ = ปภสฺ + + อร = ปภสฺสร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้สว่างพร่างพราย

(3) (ทั่วไป, ข้างหน้า) + ภาสฺ (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง) + อร ปัจจัย, รัสสะ (ลดเสียง) อา ที่ ภา-(สฺ) เป็น อะ (ภาสฺ > ภสฺ), ซ้อน สฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (นัยหนึ่งว่าลง อาคม) (ภาสฺ + + อร)

: + ภาสฺ = ปภาสฺ > ปภสฺ + + อร = ปภสฺสร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้สว่างพร่างพราย

ปภสฺสร” เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ส่องแสงสว่างจ้า, สว่างไสว, เป็นแดนซ่านออกแห่งรัศมี (shining, very bright, resplendent)

ปภสฺสร” ในภาษาไทยใช้เป็น “ประภัสสร

สังเกตเป็นหลักความรู้ :

– บาลี, ปฺร– สันสกฤต, ประ– ไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประภัสสร : (คำนาม) เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสงพระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตรสุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).”

สาธุชนพึงสดับ :

ปภสฺสรมิทํ  ภิกฺขเว  จิตฺตํ,  ตญฺจ  โข  อาคนฺตุเกหิ  อุปกฺกิเลเสหิ  อุปกฺกิลิฏฺฐํ,  ตํ  อสฺสุตวา  ปุถุชฺชโน  ยถาภูตํ  นปฺปชานาติ,  ตสฺมา  อสฺสุตวโต  ปุถุชฺชนสฺส  จิตฺตภาวนา  นตฺถีติ  วทามีติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่มีการอบรมจิต.

ปภสฺสรมิทํ  ภิกฺขเว  จิตฺตํ,  ตญฺจ  โข  อาคนฺตุเกหิ  อุปกฺกิเลเสหิ  วิปฺปมุตฺตํ,  ตํ  สุตวา  อริยสาวโก  ยถาภูตํ  ปชานาติ,  ตสฺมา  สุตวโต  อริยสาวกสฺส  จิตฺตภาวนา  อตฺถีติ  วทามีติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร และจิตนั้นแลพ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมมีการอบรมจิต.

ที่มา: เอกนิบาต อังคุตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ ข้อ ๕๒-๕๓

: คนเขลา ปล่อยใจให้มืดมิด

: บัณฑิต อบรมจิตให้ประภัสสร

18-9-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย