บาลีวันละคำ

เยาวชน (บาลีวันละคำ 1,209)

เยาวชน

อ่านว่า เยา-วะ-ชน

ประกอบด้วย เยาว + ชน

(๑) “เยาว

บาลีเป็น “ยุว” (ยุ-วะ) รากศัพท์มาจาก ยุ (ธาตุ = ปะปน, ผสม) + ปัจจัย แผลง อุ ที่ ยุ เป็น โอ แปลง โอ เป็น อุว

: ยุ > โย > ยุว + = ยุว แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ปะปนกัน” คือมีลักษณะผสมกันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ หรือพ้นจากวัยเด็ก แต่ยังไม่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ความหมายก็คือ คนหนุ่มคนสาว (a youth)

(๒) “ชน

บาลีอ่านว่า ชะ-นะ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ปัจจัย

: ชนฺ + = ชน แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้ยังกุศลหรืออกุศลให้เกิดได้” เป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะธรรมดาของคน ดีก็ทำได้ ชั่วก็ทำได้

(2) “ผู้ยังตัวตนให้เกิดตามกรรม” หมายความว่า นอกจากทำกรรมได้แล้ว ยังทำ “ตัวตน” (คน) ให้เกิดได้อีก

ชน” หมายถึง บุคคล, สัตว์, คน (an individual, a creature, person, man)

ยุว + ชน = ยุวชน

กระบวนการกลายคำ “ยุว” เป็น “เยาว” คือ –

1 แปลง อุ ที่ ยุ เป็น โอ = โยว (โย-วะ)

2 แปลง โอ เป็น เอา = เยาว (เยา-วะ)

ถ้าตามสูตรบาลีต้องบอกว่า แปลง โอ เป็น อว (อะ-วะ)

เสียง “อว” ในบาลีเท่ากับ “เอา” ในเสียงไทย

: ยุว > โยว > เยาว + ชน = เยาวชน แปลตามศัพท์ว่า “คนที่เป็นหนุ่มสาว

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

เยาวชน : (คำที่ใช้ในกฎหมาย) (คำนาม) บุคคลอายุเกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้ไขบทนิยามใหม่ เป็น –

เยาวชน : (คำนาม) บุคคลอายุเกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์.”

วันที่ 20 กันยายน : วันเยาวชนแห่งชาติ

: เป็นเด็กดีในวันนี้ดีกว่า

: เพราะอาจไม่มีวันหน้าให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี

20-9-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย