บาลีวันละคำ

บรรยากาศ (บาลีวันละคำ 1,210)

บรรยากาศ

อ่านว่า บัน-ยา-กาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “บรรยากาศ

แต่ไม่ได้บอกคำอ่านและที่มาของคำ

บรรยากาศ” เทียบกลับเป็นบาลี คือ “ปริยากาส” (ปะ-ริ-ยา-กา-สะ)

ประกอบด้วย ปริ + อากาส

(๑) “ปริ” (ปะ-ริ)

เป็นคำอุปสรรค แปลว่า รอบ, เวียนรอบ; ทั่วไป, เต็มไปหมด, รวมหมด (around, round about; all round, completely, altogether)

(๒) “อากาส” (อา-กา-สะ)

รากศัพท์มาจาก :

(1) (ไม่, ไม่ใช่, ไม่ได้) + กสฺ (ธาตุ = ไถ, เขียน) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น , แผลง เป็น อา (– > – > อา-)

: + กสฺ + = นกสณ = นกส > อสก > อากาส แปลตามศัพท์ว่า (1) “สภาพอันใครไถไม่ได้” (2) “สภาพอันใครเขียนไม่ได้

(2) อา (ทั่วไป, ยิ่ง) + กาสฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + ปัจจัย

: อา + กาสฺ = อากาส + = อากาส แปลตามศัพท์ว่า (1) “การส่องแสงไป” (2) “สภาพเป็นเครื่องส่องข้อความให้ชัดเจน” (คือที่ว่างซึ่งเมื่อมีแสงสว่างเข้าผสมก็ทำให้มองเห็นข้อความเป็นต้น)

(3) (ไม่) + กาสฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + ปัจจัย, แปลง เป็น , แผลง เป็น อา (– > – > อา-)

: + กาสฺ = นกาส + = นกาส > อกาส > อากาส แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ไม่รุ่งเรือง” (คือที่ว่างซึ่งถ้าไม่มีแสงสว่างเข้าผสมก็จะมืด)

อากาส” หมายถึง อากาศ, ท้องฟ้า, บรรยากาศ; ช่องว่าง (air, sky, atmosphere; space)

อากาส” ในภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “อากาศ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น.

(2) (ความหมายเชิงปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง 1 ใน 6 คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้).

(3) ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ.

(4) บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง.

ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป “อากาศ” คือ ว่างเปล่า ไม่มีอะไร

กระบวนการกลายรูป ปริ + อากาส :

(1) ลง อาคม ระหว่าง ปริ กับ อากาส

: ปริ + + อากาส = ปริยากาส

(ลองออกเสียง ปริอากาส จะมีเสียง แทรกอยู่โดยอัตโนมัติ)

(2) ในภาษาไทย แปลง ปริย– เป็น บรรย

(คำเทียบเช่น ปริยาย = บรรยาย)

(3) บรรย + อากาศ = บรรยากาศ

: ปริ + + อากาส = ปริยากาส > ปริยากาศ : ปริย– > บรรย– + อากาศ = บรรยากาศ แปลตามศัพท์ว่า “ที่ว่างรอบๆ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรรยากาศ : (คำนาม) อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน.”

หมายเหตุ :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บทนิยาม “บรรยากาศ” มีข้อความต่อไปอีกตอนหนึ่ง โปรดดูข้อความเดิมดังนี้ –

บรรยากาศ : (คำนาม) อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน; หน่วยของความดัน กําหนดว่า ความดัน ๑ บรรยากาศ มีค่าเท่ากับความดันของลําปรอทที่ตั้งตรงสูง ๗๖ เซนติเมตร ที่ ๐ °ซ. ณ ระดับทะเลที่ละติจูด ๔๕ ° หรือเท่ากับความดัน ๑๐๑,๓๒๕ นิวตันต่อตารางเมตร.”

: ประคองใจให้ใสสะอาด

: ไม่ต้องสร้างบรรยากาศ ก็สบายแสนสบาย

21-9-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย