บาลีวันละคำ

กัลยาณมิตร [2] (บาลีวันละคำ 1,220)

กัลยาณมิตร [2]

อ่านว่า กัน-ลฺยา-นะ-มิด

ประกอบด้วย กัลยาณ + มิตร

(๑) “กัลยาณ

บาลีเป็น “กลฺยาณ” (กัน-ลฺยา-นะ) รากศัพท์มาจาก กลฺย (เหมาะสม, ดีงาม) + อณฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ (กลฺ)- เป็น อา

: กลฺย + อณฺ = กลฺยณ + = กลฺยณณ > กลฺยณ > กลฺยาณ แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่ถึงความปราศจากโรค” (คือไม่เจ็บไม่ป่วย แข็งแรง = ดีงาม) (2) “กรรมที่ยังบุคคลให้ถึงประโยชน์เกื้อกูล

กลฺยาณ” มีความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) งดงาม, ดีงาม, มีเสน่ห์, เป็นศุภมงคล, เป็นอนุเคราะห์, มีประโยชน์, มีคุณธรรมดี (beautiful, charming; auspicious, helpful, morally good)

(2) สิ่งที่ดีหรือมีประโยชน์, ของดีต่างๆ (a good or useful thing, good things)

(3) ความดี, คุณธรรม, บุญกุศล, กุศลกรรม (goodness, virtue, merit, meritorious action)

(4) ความกรุณา, ความอุปการะ (kindness, good service)

(5) ความงาม, ความสะดุดตาหรือดึงดูดใจ, ความสมบูรณ์พร้อม (beauty, attraction, perfection)

(๒) “มิตร

เป็นรูปคำสันสกฤต “มิตฺร” บาลีเป็น “มิตฺต” (มิด-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มิทฺ (ธาตุ = รักใคร่, ผูก) + ปัจจัย, แปลง ทฺ ที่ (มิ)-ทฺ เป็น ตฺ

: มิทฺ + = มิทฺต > มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้รักใคร่กัน” คือต่างคนต่างรู้สึกรักใคร่มีไมตรีต่อกัน

(๒) “ผู้ผูกคนอื่นไว้ในตน” คือมีลักษณะชวนให้คนอื่นรักโดยที่เจ้าตัวอาจจะยังไม่ทันได้รู้จักผู้ที่มารักตนนั่นเลยด้วยซ้ำ

(2) มิ (ธาตุ = ใส่เข้า) + ปัจจัย, ซ้อน

: มิ + = มิต + = มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้ควรแก่การที่จะใส่ความลับเข้าไป” คือคนที่เพื่อนสามารถบอกความลับให้รู้ได้ทุกเรื่อง

บางคนเป็นเพื่อนกันก็จริง แต่อาจไม่ใช่ “มิตร” เพราะเพื่อนไม่กล้าบอกความลับ หรือบอกก็บอกได้บางเรื่อง บอกทุกเรื่องไม่ได้ เพราะไม่ไว้ใจว่าจะเก็บความลับได้

(๒) “ผู้ใส่เข้าข้างใน” คือคนที่เก็บความลับของเพื่อนไว้ได้ (เก็บไว้เพื่อปกป้องและช่วยแก้ไขให้เพื่อน มิใช่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำร้ายเพื่อน)

กลฺยาณ + มิตฺต = กลฺยาณมิตฺต > กัลยาณมิตร แปลตามศัพท์ว่า “มิตรดีงาม” คือ เพื่อนที่ดี, มิตรที่มีคุณธรรม, มิตรแท้ (a good companion, a virtuous friend, an honest, pure friend)

กัลยาณมิตร” ตามความหมายเฉพาะในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้แนะนำในทางศีลธรรม, ที่ปรึกษาทางธรรม (a spiritual guide, spiritual adviser) ท่านกำหนดไว้ว่าต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า “กัลยาณมิตรธรรม” 7 ประการ คือ –

(1) ปิโย น่ารัก : ด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าไปหา

(2) ครุ น่าเคารพ : ด้วยความประพฤติหนักแน่นเป็นที่พึ่งอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ

(3) ภาวนีโย น่าเจริญใจ : ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ

(4) วตฺตา รู้จักพูดให้ได้ผล : รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี

(5) วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ : พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์

(6) คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ : สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป

(7) โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน : คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร

(จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต)

: ฟังข่าว ได้เพียงแค่ความคิด

: ฟังกัลยาณมิตร ได้รู้ความจริง

————

(ในโอกาสที่ไปไหว้พระและสืบการพระศาสนา ณ วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558)

1-10-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย