บาลีวันละคำ

มรรยาท – มารยาท (บาลีวันละคำ 1,240)

มรรยาทมารยาท

มรรยาท อ่านว่า มัน-ยาด

มารยาท อ่านว่า มา-ระ-ยาด

มรรยาท หรือ มารยาท บาลีเป็น “มริยาทา” (มะ-ริ-ยา-ทา) (รัสสะ อา ที่ –ทา เป็น อะ เป็น “มริยาท” ก็มี) รากศัพท์มาจาก ปริ (รอบ) + อา (กลับความ) + ทา (ธาตุ = ให้. กลับความ = ยึดเอา), ปัจจัย, แปลง ที่ ริ เป็น (ปริ > มริ), ลง อาคม ระหว่าง ปริ + อา (ปริ + + อา = ปริยา)

: ปริ + + อา + ทา + = ปริยาทา > มริยาทา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กำหนดยึดถือ

มริยาทา” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เขตแดน, ขีดคั่น, ฝั่ง, เขื่อนริมน้ำ (boundary, limit, shore, embankment)

(2) ความสัมพันธ์ที่กำหนดไว้อย่างตายตัว, มารยาท, กฎ, การควบคุม (strictly defined relation, rule, control)

(3) อยู่ในเส้นหรือเขตแดน, ปฏิบัติตามกฎอย่างเฉียบขาด, อยู่ในความควบคุม (keeping to the lines or boundaries, observing strict rules)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) มรรยาท : (คำนาม) กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ, มารยาท ก็ว่า. (ส. มรฺยาทา; ป. มริยาท).

(2) มารยาท : (คำนาม) มรรยาท, กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ. (ส. มรฺยาทา; ป. มริยาท).

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

มรฺยาทา : (คำนาม) มรรยาท; เขตต์, แดน; propriety of conduct; a boundary, a limit.”

สังเกตการกลายรูป: มริยาทา (มริยาท) > มรฺยาทา > มรรยาท > มารยาท

และโปรดสังเกตบทนิยามของ พจน.54 :

– ที่คำว่า “มรรยาท” บอกว่า “มารยาท ก็ว่า”

– ที่คำว่า “มารยาท” ไม่ได้บอกว่า “มรรยาท ก็ว่า” แต่บอกว่า “มารยาท” ก็คือ “มรรยาท

แสดงให้เห็นว่า “มรรยาท” เป็นคำหลัก “มารยาท” เป็นคำรอง

คือ “มรรยาท” กลายเป็น “มารยาท” ไม่ใช่ “มารยาท” กลายเป็น “มรรยาท

อนึ่ง คำว่า “มรรยาท” อ่านว่า มัน-ยาด ไม่ใช่ มัน-ระ-ยาด

และ “มารยาท” อ่านว่า มา-ระ-ยาด ไม่ใช่ มาน-ยาด

: มารยาทดีซื้อไม่ได้

: แต่ฝึกอบรมได้

21-10-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย