บาลีวันละคำ

มารยา (บาลีวันละคำ 1,239)

มารยา

อ่านว่า มาน-ยา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มารยา : (คำนาม) การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยา มารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).”

มายา” ในภาษาบาลีรากศัพท์มาจาก –

(1) มย (อสูร) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(ย) เป็น อา (มย > มาย) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มย + = มยณ > มย > มาย + อา = มายา แปลตามศัพท์ว่า “กลลวงของอสูร (ที่ใช้เพื่อลวงเทวดา)

ความหมายนี้สืบเนื่องมาจากตำนาน “เทวาสุรสงคราม” (การรบระหว่างเทวดากับอสูร) ซึ่งพวกอสูรใช้เล่ห์กลต่างๆ เพื่อจะเอาชนะเทวดา

เผ่าพวกอสูร มีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มย” (มะ-ยะ) กลลวงของอสูรจึงมีชื่อเรียกว่า “มายา

(2) มา (ธาตุ = กะ, ประมาณ) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มา + = มาย + อา = มายา แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เทียบความดีของตนกับความดีเยี่ยมอื่น” หมายความว่า เอาความดีของตนซึ่งมีเล็กน้อยหรือไม่มีเลยไปแสดงอาการให้เข้าใจว่ามีความดีมาก = ลวงเขาให้เข้าใจผิด

มายา” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ :

(1) รูปลวง, การล่อลวง, การหลอกลวง, การโกง, การหน้าไหว้หลังหลอก (deceptive appearance, fraud, deceit, hypocrisy)

(2) สูตรลึกลับ, กลวิเศษ, มายา, เล่ห์กระเท่ห์ (mystic formula, magic, trick)

(3) การตบตา, การเล่นกล (jugglery, conjuring)

โปรดสังเกตคำแปลเป็นอังกฤษคำหนึ่ง คือ magic

นักภาษาบอกว่า magic กับ มายา เป็นคำเดียวกัน (ภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษอยู่ในตระกูลเดียวกัน)

ถ้าถอดรูปคำ ก็จะเห็นได้ชัดขึ้น :

ma = มา gic = ยิก magic = มายิก : มายา + อิก = มายิก = ผู้มีมายา

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล magic ว่า –

1. เวทมนตร์คาถา, ของวิเศษ, วิเศษ, อำนาจวิเศษ, อาถรรพณ์

2. งดงามจนทำให้หลงใหล

3. น่าอัศจรรย์

magician = ผู้วิเศษ, นักเล่นกล

มายา” ใช้ในภาษาไทยเป็น “มายา” ก็มี แผลงเป็น “มารยา” ก็มี

ในทางธรรม มายา เป็นมละ (มลทิน) ข้อหนึ่งในมละ 9 และเป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมองจิต) ข้อหนึ่งในอุปกิเลส 16

: ถ้าตั้งใจทำความดี ต้องไม่มีมารยา

20-10-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย