บาลีวันละคำ

จารชน (บาลีวันละคำ 1,257)

จารชน

อ่านว่า จา-ระ-ชน

ประกอบด้วย จาร + ชน

(๑) “จาร

บาลีอ่านว่า จา-ระ รากศัพท์มาจาก จรฺ (ธาตุ = เที่ยวไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (จรฺ > จาร)

: จรฺ + = จรณ > จร > จาร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เที่ยวไปรู้เรื่องอาณาจักรศัตรูหรือเรื่องปรปักษ์

ศัพท์นี้ในบาลี เป็น “จร” (จะ-ระ) ก็มี

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จร” เป็นอังกฤษว่า –

(1) the act of going about, walking; one who walks or lives (การเที่ยวไป, การเดินไป, ผู้เดินหรืออยู่)

(2) one who is sent on a message, a secret emissary, a spy (ผู้ถูกให้ไปส่งข่าว, จารบุรุษ, คนสอดแนม)

(๒) “ชน

บาลีอ่านว่า ชะ-นะ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ปัจจัย

: ชนฺ + = ชน แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังกุศลหรืออกุศลให้เกิดได้” เป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะธรรมดาของคน ดีก็ทำได้ ชั่วก็ทำได้

ชน” หมายถึง คน, ประชาชน, สัตว์, ผู้เกิด บางทีก็ใช้ทับศัพท์ว่า ชน (a creature, person, man)

จาร + ชน = จารชน แปลตามศัพท์ว่า “คนผู้เที่ยวไป” มีความหมายอย่างเดียวกับ “จร” ในข้อ (2) คือ ผู้ถูกให้ไปส่งข่าว, จารบุรุษ, คนสอดแนม (one who is sent on a message, a secret emissary, a spy)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จาร– ๒ : (คำนาม) ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).”

จารชน” เป็นคำที่ใช้ในภาษาไทย ยังไม่พบในคัมภีร์

ในบาลีใช้คำว่า “จารปุริส” (จา-ระ-ปุ-ริ-สะ) ก็คือคำที่ใช้ในภาษาไทยว่า “จารบุรุษ

: ถ้าไม่ได้ทำชั่ว ก็ไม่ต้องกลัวจารชน

7-11-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย