บาลีวันละคำ

ปฏิมากร (บาลีวันละคำ 1,267)

ปฏิมากร

อ่านว่า ปะ-ติ-มา-กอน

ประกอบด้วย ปฏิมา + กร

(๑) “ปฏิมา” (ปะ-ติ-มา)

รากศัพท์มาจาก ปฏิ (เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) + มา (ธาตุ = นับ) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ปฏิ + มา = ปฏิมา + = ปฏิม + อา = ปฏิมา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เทียบกันโดยเฉพาะ” หมายถึง รูปจำลอง, รูปเปรียบ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปฏิมา” ว่า counterpart, image, figure (รูปที่เปรียบกันได้, รูปเหมือน, รูปจำลอง)

(๒) “กร

บาลีอ่านว่า กะ-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย

: กรฺ + = กร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำ

กร” ยังหมายถึง “มือ” ได้ด้วย แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องทำงาน

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) กร ๑ : (คำนาม) ผู้ทำ, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น กรรมกร เกษตรกร. (ป.).

(2) กร ๒ : (คำนาม) มือ (มักใช้ในบทประพันธ์); แขน เช่น เจ้างามกรอ่อนดังงวงเอราวัณ (กลบท); (ราชาศัพท์) มือ, แขน, ปลายแขน, ใช้ว่า พระกร หรือ กร. (ป., ส.).

(3) กร ๓ : (คำนาม) แสง, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น รัชนีกร นิศากร. (ป.).

ปฏิมา + กร = ปฏิมากร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำรูปจำลอง” หมายถึง ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิมา, ปฏิมากร : (คำนาม) รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียกย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร. (ป. ปฏิมา).”

อภิปราย:

๑. พจน.54 บอกว่า ปฏิมา กับ ปฏิมากร มีความหมายเท่ากัน คือหมายถึงพระพุทธรูป แต่ในภาษาบาลี ปฏิมา หมายถึงรูปจำลองทั่วไปที่ปั้นหรือแกะสลักหรือทำด้วยกรรมวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่การเขียนภาพ ถ้าจะให้หมายถึงพระพุทธรูป ในคัมภีร์ท่านใช้ศัพท์ว่า “พุทฺธปฏิมา” แปลว่า รูปจำลองของพระพุทธเจ้า

๒. ในคัมภีร์ยังไม่พบศัพท์ว่า “ปฏิมากร” (บาลีอ่านว่า ปะ-ติ-มา-กะ-ระ) ที่หมายถึงรูปจำลอง หรือพระพุทธรูป แต่ตามศัพท์ “ปฏิมากร” ต้องแปลว่า “ผู้ทำรูปจำลอง” ไม่ใช่หมายถึงตัวรูปจำลอง

๓. คำว่า “กร” ใน พจน.54 แปลว่า “ผู้ทำ” (กร ๑) แปลว่า “มือ” (กร ๒) และแปลว่า “แสง” (กร ๓) แต่ “กร” ใน “ปฏิมากร” ที่หมายถึงพระพุทธรูป ตาม พจน.54 นั่นเอง ไม่เข้ากับความหมายของ “กร” ใดๆ เลย นอกจากจะแปลว่า “ผู้ทำรูปจำลอง” (ปฏิมา = รูปจำลอง, กร = ผู้ทำ) หรือมิเช่นนั้นก็ต้องมาจากคำอื่น เช่น ปฏิมา + อากร = ปฏิมากร แปลว่า “บ่อเกิดแห่งรูปจำลอง” ซึ่งไม่ทราบว่าจะหมายถึงอะไร

๔. พจน.54 มีคำว่า “ปฏิมากร” ที่หมายถึงพระพุทธรูป แต่ไม่มีคำว่า “ปฏิมากร” ที่หมายถึงช่างปั้น ช่างแกะสลัก

๕. พจนานุกรม สอ เสถบุตร มีคำว่า “ปฏิมากร” แปลเป็นอังกฤษคำหนึ่งว่า a sculptor พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล sculptor เป็นบาลีว่า silāvaḍḍhakī สิลาวฑฺฒกี (สิ-ลา-วัด-ทะ-กี) หมายถึง ช่างสลักหิน

: ความดี ถ้าทำเทียมๆ ก็ไม่ใช่ความดี

17-11-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย