บาลีวันละคำ

ราชทัณฑ์ (บาลีวันละคำ 1,278)

ราชทัณฑ์

อ่านว่า ราด-ชะ-ทัน

ประกอบด้วย ราช + ทัณฑ์

(๑) “ราช

บาลีอ่านว่า รา-ชะ รากศัพท์มาจาก :

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (ปัจจัย)

: ราชฺ + = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก” หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รญฺช > รช > ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

ท่านพุทธทาสภิกขุให้คำจำกัดความ “ราช” หรือ “ราชา” ว่าคือ “ผู้ที่ทำให้ประชาชนร้องออกมาว่า พอใจ พอใจ

ราช” ความหมายตรงๆ ที่เข้าใจกัน คือ พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน

แต่เดิมผู้ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมือง เรียกกันว่า “พระราชา” ความหมายโดยนัยของคำว่า “ราช” ในปัจจุบันจึงหมายถึงผู้ทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็น “พระราชา” หรือไม่ก็ตาม

(๒) “ทัณฑ์

บาลีเป็น “ทณฺฑ” อ่านว่า ทัน-ดะ (ฑ มณโฑ ออกเสียงเหมือน ด เด็ก) รากศัพท์มาจาก :

(1) ทมฺ (ธาตุ = ฝึก, ข่ม, ทรมาน) + ปัจจัย, แปลง มฺ เป็น ณฺ

: ทมฺ > ทณฺ + = ทณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องทรมานฝึกฝน” หมายถึง การลงทัณฑ์, การทรมาน, การลงอาญา, การถูกปรับ

(2) ทฑิ (ธาตุ = ตี, ประหาร) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุแล้วแปลงเป็น ณฺ, ลบ และสระที่สุดธาตุ

: ทฑิ > ทํฑิ > ทณฺฑิ > ทณฺฑ + = ทณฺฑก > ทณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องตี” หมายถึง ท่อนไม้, ไม้เท้า, ไม้เรียว

ทณฺฑ” มีความหมายหลัก 2 อย่าง คือ ไม้ที่หยิบถือได้ (a stick, staff, rod) และ การลงโทษ (punishment)

ในที่นี้ “ทณฺฑ” หมายถึงการลงโทษ

ราช + ทณฺฑ = ราชทณฺฑ (รา-ชะ-ทัน-ดะ) แปลตามศัพท์ว่า “โทษที่ได้รับจากพระราชา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ราชทณฺฑ” ว่า punishment ordered by the king (ราชอาชญา)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ราชทณฺฑ : (คำนาม) ‘ราชทัณฑ์,’ ทัณฑ์อันพระราชามีพระราชดำรัสสั่งให้ลง; คทาของพระราชา; punishment ordered by the king; the baton or sceptre of a king.”

ราชทณฺฑ ใช้ในภาษาไทยเป็น “ราชทัณฑ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราชทัณฑ์ : (คำนาม) (คำโบราณ) โทษที่กระทำผิดต่อพระมหากษัตริย์, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์, เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุมอบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติ และขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).”

: โทษในราชทัณฑ์สำหรับคนทำชั่วในชาตินี้

: แต่โทษในอเวจีสำหรับคนที่คิดชั่วกับพระพุทธศาสนา

28-11-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย