บาลีวันละคำ

ชินสีห์ หรือ ชินศรี (บาลีวันละคำ 1,284)

ชินสีห์ หรือ ชินศรี

ความรู้เรื่องศัพท์ :

(๑) “ชิน

บาลีอ่านว่า ชิ-นะ รากศัพท์มาจาก ชิ (ธาตุ = ชนะ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ชิ + ยุ > อน = ชิน แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ชนะ” (2) “ผู้ชนะบาปอกุศลธรรม” หมายถึง พิชิต, มีชัย (conquering, victorious)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ระบุไว้ว่า often of the Buddha, “Victor” (มักใช้เป็นพระคุณนามของพระพุทธเจ้า มีความหมายว่า “พระผู้มีชัย”)

(๒) “สีห์

บาลีเขียน “สีห” อ่านว่า สี-หะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สีหฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย

: สีหฺ + = สีห แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่เบียดเบียนมฤค

(2) สํ (จาก สํวิชฺชมาน = มีอยู่พร้อม) + อีหา (ความพยายาม) + ณ ปัจจัย, ลบนิคหิต, ลบ และลบสระหน้า คือ อา ที่ (อี)-หา (อีหา > อีห)

: สํ > + อีหา = สีหา > สีห แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่มีความพยายามพร้อมที่จะฆ่ามฤค” แปลทับศัพท์ว่า สีหะ, ราชสีห์ ในภาษาไทยใช้อีกคำหนึ่งว่า สิงโต (a lion)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ระบุไว้ว่า often used as an epithet of the Buddha (มักใช้เป็นคำแสดงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า)

สีห” ในภาษาไทย การันต์ที่ เป็น “สีห์” อ่านว่า สี

(๓) “ศรี

บาลีเป็น “สิริ” อ่านว่า สิ-ริ (บาลีมี “สิรี” อีกรูปหนึ่ง) รากศัพท์มากจาก สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา, อาศัย) + ปัจจัย + อิ (หรือ อี) ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สิ + = สิร + อิ (อี) = สิริ (สิรี) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้สัมผัส” (2) “สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

พจนานุกรมบาลี-อังฤษ แยกความหมายของ “สิริ” ไว้ดังนี้ –

(1) ความโอ่อ่าอลังการ, ความสวยงาม (splendour, beauty)

(2) โชค, ความรุ่งโรจน์, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง (luck, glory, majesty, prosperity)

(3) เทพธิดาแห่งโชคลาภ (the goddess of luck)

(4) (เมื่อ + คพฺภ = สิริคพฺภ) ห้องบรรทม (the royal bed-chamber)

สิริ” สันสกฤตเป็น “ศฺรี” เขียนตามสันสกฤตเป็น “ศรี” อ่านว่า สี

ชิน + สีห = ชินสีห > ชินสีห์ อ่านว่า ชิน-นะ-สี มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าผู้ชนะมารมีความอาจหาญประดุจราชสีห์

ชิน + สิริ = ชินสิริ > ชินศฺรี > ชินศรี อ่านว่า ชิน-นะ-สี มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าผู้ชนะมารผู้มีสิริ

อภิปราย :

ทั้งสองคำนี้ไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 จึงอาจมีปัญหาว่า เขียน “ชินสีห์” หรือ “ชินศรี” เพราะมีผู้เขียนทั้งสองแบบ

ชินศรี” คำบาลีเป็น “ชินสิริ” แปลว่า “พระชินเจ้าผู้มีสิริ

คำว่า “สิริผู้มีสิริ” พบแต่ใช้ขยาย “พุทฺธ” เช่นที่แจกวิภัตติเป็น พุทฺธสฺส สิรีมโต > พุทฺธสิริ = พระพุทธเจ้าผู้มีสิริ

แต่ยังไม่พบที่ใช้ขยาย “ชิน” เป็น “ชินสิริ” = พระชินเจ้าผู้มีสิริ

ในคัมภีร์มีคำบรรยายพุทธคุณโดยใช้คำอุปมาว่า “สีห” บ่อยๆ เช่น –

นรสีห” = คนที่แกล้วกล้าดุจราชสีห์

สีหไสยา” = พระพุทธเจ้าทรงบรรทมอย่างราชสีห์ คือนอนคะแคงขวา

สีหนาท” = บันลือสีหนาท คือทรงแสดงความแกล้วกล้าในการแก้ปัญหาหรือข้อกล่าวหา หรือการประกาศสถานะว่าพระองค์เป็นใครต่อผู้ที่ดูหมิ่น

แม้แต่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ก็ระบุถึงคำว่า “สีห” ไว้ว่า often used as an epithet of the Buddha (มักใช้เป็นคำแสดงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า)

ชินสีห์” จึงมีความเหมาะสมมากกว่า “ชินศรี

: คำบางคำความหมายดี แต่มีคนบอกว่าไม่ถูก

: คนบางคนทำถูก แต่มีคนบอกว่าไม่ดี

4-12-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย