บาลีวันละคำ

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา [2] (บาลีวันละคำ 1,285)

ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชา [2]

ความรู้เรื่องศัพท์ :

(๑) “ทีฆายุโก

ประกอบด้วยคำว่า ทีฆ + อายุ + ณฺวุ ปัจจัย

1) “ทีฆ” (ที-คะ) รากศัพท์มาจาก ทุ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, แผลง อุ ที่ ทุ เป็น อี (ทุ > ที)

: ทุ + = ทุฆ > ทีฆ แปลตามศัพท์ว่า “ระยะที่เป็นไปด้วยเสียงที่ไกล” (เทียบด้วยระยะทางที่เสียงดังมากๆ จะได้ยินไปถึงไกลแค่ไหน ระยะเวลาจากจุดเริ่มต้นก็นานไกลทำนองเดียวกันนั้น)

ทีฆ” มีความหมาย 2 อย่างคือ :

(1) ยาว, ไกล, นาน (long)

(2) งู (a snake)

2) “อายุ” (อา-ยุ) รากศัพท์มาจาก อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ณุ ปัจจัย, แผลง อิ เป็น (อิ > อย, สูตรเต็มว่า แผลง อิ เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย),ยืดเสียง อะ ที่ -(ย) เป็น อา (อย > อาย), ลบ ที่ ณุ (ณุ > อุ)

: อิ > เอ > อย + ณุ = อยณุ > อายณุ > อายุ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเหตุเป็นไปแห่งสัตวโลก” (2) “สิ่งเป็นเหตุดำเนินไปตลอดกาลยาวนานแห่งสัตวโลก

อายุ” หมายถึง อายุ, ความสามารถดำรงชีวิต, การกำหนดอายุ, ความมีอายุยืน (life, vitality, duration of life, longevity)

โปรดสังเกต:

อายุ” คำเดียวหมายถึงมีอายุยืนก็ได้ ดังในภาษาไทยพูดว่า “คนมีอายุ” ก็หมายถึงคนที่มีชีวิตอยู่มานาน

3) ทีฆ + อายุ + ณฺวุ ปัจจัย ( = ผู้-, ผู้มี-), แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ)

: ทีฆ + อายุ = ทีฆายุ + ณฺวุ > อก = ทีฆายุก (ที-คา-ยุ-กะ) แปลว่า “ผู้มีอายุยืนนาน” (long-lived)

ทีฆายุก” เป็นคุณศัพท์ :

– ขยายคำนามที่เป็นเพศชาย (วิภัตติที่หนึ่ง, เอกพจน์) เป็น “ทีฆายุโก

– ขยายคำนามที่เป็นเพศหญิง เป็น “ทีฆายุกา

(๒) “โหตุ” เป็นคำกริยา (ปฐมบุรุษ ( = ผู้ที่ถูกพูดถึง), เอกพจน์) มาจาก หุ (ธาตุ = มี, เป็น) + ตุ วิภัตติอาขยาต แผลง อุ ที่ หุ เป็น โอ (หุ > โห)

: หุ > โห + ตุ = โหตุ แปลว่า “จงเป็น

โปรดสังเกต:

กรณีที่ประธานเป็นเอกพจน์ กริยาเป็น “โหตุ

ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ โหตุ ต้องเปลี่ยนรูปเป็น “โหนฺตุ

(เอกพจน์ :-ตุ, พหูพจน์ :-นฺตุ, สูตรสั้นๆ : “ตุอันตุ”)

บททดสอบ : ทำไมจึงเป็น “โหตุ” บ้าง “โหนฺตุ” บ้าง –

อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ

สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย.

(คำกรวดน้ำอย่างย่อ)

(๓) “มหาราชา” (มะ-หา-รา-ชา) ประกอบด้วย มหา (คำเดิม มหนฺต = ยิ่งใหญ่) + ราช ( = พระราชา)

: มหนฺต > มหา + ราช = มหาราช (มะ-หา-รา-ชะ) แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง เอกพจน์ = มหาราชา แปลว่า “พระราชาผู้ยิ่งใหญ่” หรือทับศัพท์ว่า “มหาราช

ข้อควรรู้ :

ทีฆ- ที- ทหาร ไม่ใช่ มณโฑ อย่าเขียนผิด

๒ คำบาลีถวายพระพรต้องเขียนแยกเป็น 3 คำ อย่าเขียนติดกัน และต้องแยกให้ถูกคำ

๓ ภาษาบาลีเขียนแยกเป็นคำๆ แบบเดียวกับภาษาอังกฤษ

ถ้าเขียนติดกัน ก็ไม่เป็นภาษา

LONGLIVETHEKING

ทีฆายุโกโหตุมหาราชา

ถ้าแยกคำไม่ถูกต้อง ก็อ่านไม่ได้ความ

LON  GLI  VET  HEK  ING

ที  ฆายุ  โกโห  ตุม  หารา  ชา

ทีฆายุโกโหตุ / มหาราชาผิด

ทีฆายุโก / โหตุมหาราชาผิด

แยกคำถูกต้อง จึงอ่านได้ความ

ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชา

LONG  LIVE  THE  KING

แปลเป็นคำๆ –

ทีฆายุโก = มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

โหตุ = จงเป็น

มหาราชา = พระราชาผู้ยิ่งใหญ่, พระมหาราช

แปลรวม –

พระราชาผู้ยิ่งใหญ่จงทรงพระชนมายุยิ่งยืนนาน

แปลถอดความ –

ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชา

ขอจงทรงพระเจริญ

LONG  LIVE  THE  KING

: เรียนรู้บาลีด้วยจิตเป็นมหากุศล

: น้อมถวายชัยมงคล ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

5-12-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย