บาลีวันละคำ

จุฬาราชมนตรี (บาลีวันละคำ 1,292)

จุฬาราชมนตรี

อ่านว่า จุ-ลา-ราด-ชะ-มน-ตฺรี

ประกอบด้วย จุฬา + ราช + มนตรี

(๑) “จุฬา

ตามตัวอักษรที่ปรากฏ คำนี้เป็นภาษาบาลี รากศัพท์มาจาก จูฬฺ (ธาตุ = งอกขึ้น) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: จูฬ + = จูฬ + อา = จูฬา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งอกขึ้น” หมายถึง นูน, โหนก; หน่อ, ปุ่ม, ยอด (swelling, protuberance; root, knot, crest)

แต่เฉพาะในที่นี้มีผู้แสดงความเห็นไว้ว่า –

“นักวิชาการผู้สันทัดกรณีสันนิษฐานว่า จุฬา หรือในเอกสารเก่าเขียนว่า จุลา คงมาจากคำล่า จุละ (shula) ในภาษาอาหรับหรือเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า “คณะมนตรีที่ปรึกษา” (Ian Richard Netton , A Popular Dictionary of Islam p.232) และที่ว่าเป็นคำในภาษาอาหรับนั้น น่าจะเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า ชูรอ (شُوْرى) ที่มีความหมายว่า การปรึกษาหารือ เรียกคณะที่ปรึกษาว่า อะฮฺลุชชูรอ (أَهْلُ الشُوْرى)  จาก “ชูรอ” เพี้ยนเป็น จูลา” (ที่มา: http://alisuasaming.com/main/index.php/article/baiah/2101-thai-jula)

(๒) “ราช

บาลีอ่านว่า รา-ชะ รากศัพท์มาจาก :

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (ปัจจัย)

: ราชฺ + = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก” หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รญฺช > รช > ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

ท่านพุทธทาสภิกขุให้คำจำกัดความ “ราช” หรือ “ราชา” ว่าคือ “ผู้ที่ทำให้ประชาชนร้องออกมาว่า พอใจ พอใจ

ราช” ความหมายตรงๆ ที่เข้าใจกัน คือ พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน

แต่เดิมผู้ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมือง เรียกกันว่า “พระราชา” ความหมายโดยนัยของคำว่า “ราช” ในปัจจุบันจึงหมายถึงผู้ทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็น “พระราชา” หรือไม่ก็ตาม

(๓) “มนตรี

บาลีเป็น “มนฺตี” (มัน-ตี) มาจาก มนฺตา + อี :

1) มนฺตา รากศัพท์มาจาก มนฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มนฺ + = มนฺต + อา = มนฺตา แปลตามศัพท์ว่า “ตัวรู้” มีความหมายหลายอย่าง คือ :

(1) คัมภีร์, บทร้องสวด, การร่ายมนตร์ (the Scriptures, Hymns, Incantations)

(2) คัมภีร์โดยทั่วๆ ไป, พระคัมภีร์, คำสอนอันเร้นลับ (holy scriptures in general, sacred text, secret doctrine)

(3) เสียงสวรรค์, คำพูดที่มีเทวอำนาจ, เสน่ห์, มนตร์, คาถา, ศาสตร์ลี้ลับ, วิทยาคม (divine utterance, a word with supernatural power, a charm, spell, magic art, witchcraft)

(4) คำแนะนำ, คำปรึกษา, แผนการ, แบบแผน (advice, counsel, plan, design)

(5) มีความรู้หลายอย่าง, มีเล่ห์เหลี่ยมมาก (a charm that can be said, an effective charm)

2) มนฺตา + อี = มนฺตี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้แบกรับกิจที่พึงกระทำ” “คนมีความคิด” ใช้ในความหมายว่า ที่ปรึกษา, อำมาตย์, เสนาบดี (counselor, minister)

จุฬา + ราช + มนตรี = จุฬาราชมนตรี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีความคิดชั้นยอดของพระราชา” หรือ “ที่ปรึกษาชั้นยอดของทางราชการ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จุฬาราชมนตรี : (คำนาม) ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง.”

ผู้นำศาสนาคือผู้นำโลก >

: ถ้านำอย่างมีความคิด โลกก็มีสันติ

: ถ้านำอย่างสิ้นคิด โลกก็สิ้นสันติ

12-12-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย