บาลีวันละคำ

อภัยทาน (บาลีวันละคำ 657)

อภัยทาน

อ่านว่า อะ-ไพ-ยะ-ทาน

บาลีเป็น “อภยทาน” อ่านว่า อะ-พะ-ยะ-ทา-นะ

ประกอบด้วย อภย + ทาน

อภย” มาจากการประสมระหว่าง (= ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + ภย (= ความกลัว, ความตกใจกลัว, ความหวาดหวั่น)

กฎการประสมของ + :

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น อ-

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ แปลง เป็น อน-

ในที่นี้ “ภย” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น : > + ภย = อภย

อภย” ใช้เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า ปลอดจากความกลัวหรืออันตราย, ไม่มีความกลัว, ปลอดภัย (free from fear or danger, fearless, safe) ใช้เป็นคำนาม มีความหมายว่า ความไว้วางใจ, ความปลอดภัย (confidence, safety)

ทาน” ประกอบด้วย ทา (ธาตุ, = ให้) + ยุ (ปัจจัย แปลง ยุ เป็น อน) = ทาน

ทาน” เราแปลและเข้าใจกันว่าคือ “การให้” แต่ฝรั่งซึ่งนัยว่าเรียนบาลีที่หลังเรานานนักหนา แปล “ทาน” ว่า giving, dealing out, gift; almsgiving, liberality, munificence (การให้, การแจกให้, ของขวัญ, การให้ทาน, การมีใจคอกว้างขวาง, ความใจบุญ)

อภย + ทาน = อภยทาน แปลตามศัพท์ว่า “การให้อภัย” คือ ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย หมายถึง ไม่ทำอันตรายต่อกัน ไม่ว่ากับคนหรือกับสัตว์

พจน.42 บอกไว้ว่า –

อภัยทาน : (คำนาม) การให้ความไม่มีภัย เช่น ให้อภัยทาน (คำวิเศษณ์) ที่ให้ความไม่มีภัย เช่น เขตอภัยทาน”

ในภาษาไทย ถ้าพูดว่า “ให้อภัย” (เป็นคำแปลตรงตัวของ “อภัยทาน”) เราเข้าใจกันว่า หมายถึง ไม่คุมแค้นเมื่อมีผู้ทำให้เดือดร้อน เสียหาย หรือทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับผิดหรือไม่ก็ตาม

แต่ “อภัยทาน” ในภาษาบาลีมีความหมายลึกล่วงหน้าไปอีกชั้นหนึ่ง คือ ไม่ว่าจะมีใครมาทำให้เดือดร้อนเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะไม่เป็นฝ่ายไปทำให้ใครเดือดร้อนเสียหายเสียเองตั้งแต่แรก นั่นคือไม่ทำเหตุอันจะต้องไป “ขออภัย” ต่อใครในภายหลังนั่นเลยทีเดียว

คัมภีร์ปรมัตถทีปนี อรรถกถาของคัมภีร์จริยาปิฎก อธิบายไว้ว่า –

ว่าโดยสิ่งที่ควรให้ ที่เรียกว่า “ทาน” นั้น มี 3 อย่าง คือ –

อามิสทาน ให้วัตถุสิ่งของ หนึ่ง

ธรรมทาน ให้ธรรม หนึ่ง

อภัยทาน ให้ความไม่มีภัย หรือให้อภัย หนึ่ง

ชนะ ก่อเวร : แพ้ เป็นทุกข์

อภัยทาน : ชนะได้โดยไม่ต้องทำให้ใครแพ้

————

(ตามคำขอของ Jasmiine Montra)

5-3-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย