บาลีวันละคำ

ไปยาล (บาลีวันละคำ 676)

ไปยาล

อ่านว่า ไป-ยาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า ไปยาล เป็นคำนาม –

(1) เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ‘’ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคําที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ

(2) รูปดังนี้ ‘ฯลฯ’ หรือ ‘ฯเปฯ’ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ” –

(3) หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า “ละถึง

ไปยาล” บาลีเป็น “เปยฺยาล” อ่านว่า เปย-ยา-ละ

ภาษาไทยใช้ทั้ง “ไปยาล” และ “เปยยาล” (เป็ย-ยาน)

เปยฺยาล” รากศัพท์มาจาก ปา (ธาตุ = รักษา) + อล (อะ-ละ) ปัจจัย, แปลง อา ที่ ปา เป็น เอยฺย, ลบ อะ ที่ เอยฺย, ยืดเสียง อะ ที่ อล เป็น อา (ภาษาสูตรไวยากรณ์ว่า “ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง”)

: ปา > ( + อา > เอยฺย =) เปยฺย + อล > อาล = เปยฺยาล

เปยฺยาล” แปลตามศัพท์ว่า “ข้อความที่ควรรักษาไว้ หรือควรขยายออกไป

เพื่อให้เข้าใจความมุ่งหมายหรือหน้าที่ของ “เปยฺยาลไปยาล” ขอขยายความ “คำแปลตามศัพท์” ข้างต้นดังนี้ –

(1) มีข้อความจำนวนหนึ่งปรากฏอยู่

(2) ในข้อความนั้นยังมีข้อความอีกจำนวนหนึ่งอยู่ด้วย แต่ไม่ปรากฏ คือไม่ได้เขียนหรือไม่ได้กล่าวไว้

(3) ข้อความที่ไม่ได้เขียนหรือไม่ได้กล่าวไว้นี่แหละที่ “ควรรักษาไว้” (มิใช่ว่า ไม่เห็นปรากฏอยู่ก็เลยปล่อยทิ้งไป ไม่ต้องรู้ต้องจำ)

(4) ข้อความจำนวนหนึ่งที่มีอยู่ตาม (1) นั้น เป็นข้อความที่ไม่สมบูรณ์ เพราะขาดข้อความตาม (2) ดังนั้นข้อความตาม (1) จึงเป็นข้อความที่ “ควรขยายออกไป” เพื่อให้สมบูรณ์

ตัวอย่างในคำอธิบายของ พจน.54 ข้างต้นนั้น อ่านดังนี้ –

(1) ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ

อ่านว่า “ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ละ

(2) ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย

อ่านว่า “ข้าวรพุทธเจ้า ละถึง ดุจถวายชัย ชโย”

ข้อควรรู้

(1) ข้อความที่เป็นภาษาบาลี (อักษรไทย) ถ้ามีเครื่องหมายไปยาลใหญ่ จะเขียนเป็น -ฯเปฯ- (ไปยาลน้อย+สระ เอ+ป ปลา+ไปยาลน้อย) ไม่ใช่ -ฯลฯ- เหมือนในภาษาไทย

(2)-ฯเปฯ- อ่านได้ 2 แบบ คือ อ่านว่า “เป” ก็ได้ อ่านว่า “ละ” ก็ได้

– อ่านว่า “เป” เพราะอ่านพยางค์แรกของ เป-(ยฺยาล)

– อ่านว่า “ละ” เพราะอ่านพยางค์สุดท้ายของ (เปยฺยา)-

คำว่า “ละ” ในภาษาไทย ที่หมายถึง

– ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ

– เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่

อาจมีที่มาจากคำว่า “(เปยยา) ละ” คำนี้ก็ได้ ?

กิเลสมีมาก เช่น โลภะ โทสะ โมหะ ฯลฯ

: อย่าละไว้ในฐานที่เข้าใจ

: แต่จงพยายามละให้หมดไปจากใจ

—————–

(เนื่องมาจากคำปรารภของพระคุณท่าน Sunant Pramaha)

24-3-57

ต้นฉบับ