บาลีวันละคำ

จันทรางศุ (บาลีวันละคำ 682)

จันทรางศุ

อ่านว่า จัน-ทะ-ราง-สุ

ประกอบด้วย จนฺทร + อํศุ

เทียบบาลีเป็น “จนฺทํสุ” อ่านว่า จัน-ทัง-สุ

จนฺท” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังสัตว์โลกให้พอใจ” “ผู้ยังความพอใจให้เกิด” (คือเมื่อเห็นแล้วผู้คนก็ชื่นใจ พอใจ) “ผู้รุ่งเรืองด้วยสิริ” (คือมีแสงสว่างผ่องใส) หมายถึง ดวงจันทร์ (the moon) คำไทยเรียก “เดือน”

จนฺท” (จัน-ทะ) บาลี เป็น “จนฺทร” (จัน-ทะ-ระ) ในสันสกฤต

ภาษาไทยนิยมใช้ตามรูปสันสกฤต ถ้าออกเสียง “จัน” เขียนเป็น “จันทร์” (การันต์ที่ เท่ากับการันต์ ไปด้วย)

อํศุ” (อัง-สุ) บาลีเป็น “อํสุ” (สันสกฤต ศาลา, บาลี เสือ)

รากศัพท์คือ อม (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อุ ปัจจัย, ลง อาคม, แปลง เป็นนิคหิต

: อม > อํ + = อํส + อุ = อํสุ

อํสุ” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไปได้สุดทิศทาง” หมายถึง รังสี, รัศมี, แสง, แสงสว่าง

นอกจากนี้ “อํสุ” ในบาลียังหมายถึง เส้นด้าย (a thread) อีกด้วย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อํศุ : แสงแดด, ความงาม, เครื่องแต่งตัว, ปลายด้าย, แดด; sunbeam, splendour, dress, end of thread, the sun.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ บอกไว้ว่า –

อังศุ : สาย, ทาง, เส้น, แถว; แสง, รัศมี. (สันสกฤต. อํศุ; บาลี. อํสุ)”

จนฺท + อํสุ = จนฺทํสุ : จนฺทร + อํศุ = จนฺทรํศุ > จันทรางศุ

จันทรางศุ” ตามศัพท์ มีความหมายได้ ๒ อย่าง คือ –

๑. รัศมีแห่งดวงจันทร์ (moon-light)

๒. สืบเชื้อสายมาจาก “จัน” (lineage of “Chan”)

จันทรางศุ” เป็นนามสกุลพระราชทาน ผู้ขอพระราชทานคือ พระภิรมย์บุรีรัฐ (ทอง) ซึ่งมีทวดชื่อ จีนจั่น

สันนิษฐาน :

๑. ชื่อจีน “จั่น” ฟังเป็น “จัน” ได้ และ “จัน” ในเสียงไทยสามารถเทียบกับบาลีสันสกฤตตรงกับ “จนฺท” “จนฺทร” หรือ “จนฺทน” ได้เช่นกัน

๒. สันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ องค์พระผู้พระราชทาน จะทรงพอพระราชหฤทัยให้เสียง “จั่น” ตรงกับ “จนฺทร” ในสันสกฤต จึงพระราชทานนามสกุลว่า “จันทรางศุ

ข้อสังเกต :

จันทรางศุ” มีอักษรโรมันกำกับมาว่า “Chandrānsu”

๑. อักษร a ตรงคำว่า -ran- มีเครื่องหมายขีดอยู่ข้างบน เป็น -rān- เครื่องหมายนี้บังคับให้ a เป็นเสียง อา พยางค์ -ran- ต้องออกเสียงเป็น –รา– ไม่ใช่ –รั

๒. คำว่า –ราง– อักษรโรมันควรเป็น rāng แต่เนื่องจากศัพท์เดิม คือ อํศุ เขียนด้วยอักษรโรมันเป็น aŋśu ตัว ŋ หรือ n หางยาว เท่ากับนิคหิต คือเสียง “อัง” เป็นรูปอักษรพิเศษใช้สำหรับเขียนคำบาลีสันสกฤตโดยเฉพาะ (ทำนองเดียวกับ ā ที่มีขีดบน) ไม่ใช้ ng ตามแบบเสียงที่มี – สะกดในภาษาอังกฤษ ดังนั้นเมื่อถอดเป็นอักษรโรมันจึงใช้ n ตัวเดียว เท่ากับ ŋ หางยาว

๓. อนึ่ง โปรดสังเกตว่า คำว่า aŋśu (อํศุ) นอกจากจะมีตัว ŋ หางยาวแล้ว ที่ตัว s ยังมีขีดเอนอยู่ข้างบนเป็น ś เครื่องหมายนี้บังคับให้ s ต้องเป็น ศ ศาลา ไม่ใช่ ส เสือ แต่เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน ใช้ s ธรรมดา อาจเป็นเพราะว่าถ้าจะมีเครื่องหมายอะไรมากไปก็จะเป็นการยุ่งยากหยุมหยิมเกินจำเป็นก็ได้

๔. สำหรับผู้ไม่ทราบที่มา เมื่อเห็นนามสกุล “จันทรางศุ” และเห็นคำว่า Chandransu อาจสงสัยว่าทำไมจึงไม่สะกดเป็น Chandrangsu หรือเมื่อสะกดเป็น Chandransu ทำไมจึงไม่อ่านว่า จัน-ทะ-ราน-สุ เมื่อทราบที่มาและเหตุผลแล้วก็คงจะเข้าใจ

จันทรางศุ – Chandrānsu : จึงนับได้ว่าเป็นคำพิเศษ และเป็นนามสกุลพิเศษนามหนึ่งในสยามประเทศ

———————-

(๓๐ มีนาคม – ร่วมแสดงความยินดีร้อยปีจันทรางศุ)

30-3-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย