บาลีวันละคำ

สิรินธร (บาลีวันละคำ 685)

สิรินธร

อ่านว่า สิ-ริน-ทอน

บาลีเป็น “สิรินฺธร” อ่านว่า สิ-ริน-ทะ-ระ

ประกอบด้วย สิริ + ธร

สิริ” (อ่านว่า สิ-ริ, บาลีมี “สิรี” อีกรูปหนึ่ง) รากศัพท์มากจาก สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา, อาศัย) + ปัจจัย + อิ หรือ อี (ปัจจัยที่ทำให้เป็นอิตถีลิงค์)

: สิ + = สิร + อิ (อี) = สิริ (สิรี)

สิริ” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้สัมผัส” หรือ “สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แยกความหมายของ “สิริ” ไว้ดังนี้ –

1. ความโอ่อ่าอลังการ, ความสวยงาม (splendour, beauty)

2. โชค, ความรุ่งโรจน์, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง (luck, glory, majesty, prosperity)

3. เทพธิดาแห่งโชคลาภ (the goddess of luck)

4. (เมื่อ + คพฺภ = สิริคพฺภ) ห้องบรรทม (the royal bed-chamber)

ธร” รากศัพท์มากจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + อ ปัจจัย

: ธรฺ + = ธร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทรงไว้” หมายถึง รองรับ, สวม, เก็บ; จำไว้ในใจ, ท่องจำ (bearing, wearing, keeping; holding in mind, knowing by heart)

สิริ + ธร ตรงตัวเป็น สิริธร แต่มีกฎว่า “ซ้อนพยัญชนะท้ายวรรคของคำหลัง” ซึ่งมีกระบวนการดังนี้ –

(1) “คำหลัง” ในที่นี้คือ “ธร” พยัญชนะต้นคำคือ “

(2) “พยัญชนะวรรค” ของ “” คือ ต ถ ท ธ น

(3) “พยัญชนะท้ายวรรค” คือ “

(4) เอา “น” มาซ้อน คือแทรกระหว่าง สิริธร และทำหน้าที่เป็นตัวสะกด

(5) : สิริ + นฺ + ธร = สิรินฺธร

สังเกต

(1) คำนี้ถ้า “” ไม่ใช่ตัวสะกด (ไม่มีจุดใต้ น) ต้องอ่านว่า สิ-ริ-นะ-ทะ-ระ

(2) แต่เมื่อ “” เป็นตัวสะกด (มีจุดใต้ น) จึงต้องอ่านว่า สิ-ริน-ทะ-ระ

สิรินฺธร” เขียนแบบไทย ไม่มีจุดใต้ น เป็น “สิรินธร” อ่านแบบไทยว่า สิริน-ทอน

สิรินฺธรสิรินธร” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทรงไว้ซึ่งสิริ” (glorious) หมายถึง ผู้มีความรุ่งโรจน์ สง่างาม เป็นสิริมงคลแก่ผู้พบเห็น

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2498 ได้รับพระราชทานพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์”

ขอจงทรงพระเจริญ

2-4-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย