บาลีวันละคำ

มหรสพ (บาลีวันละคำ 693)

มหรสพ

อ่านว่า มะ-หอ-ระ-สบ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มหรสพ : (คำนาม) การเล่นรื่นเริงมีโขนละครเป็นต้น”

และบอกว่า บาลีเป็น “มหุสฺสว” สันสกฤตเป็น “มโหตฺสว

มหุสฺสว” (มะ-หุด-สะ-วะ) ประกอบด้วย มห + อุสฺสว

ความหมายของ “มห” –

(1) “มห” (มะ-หะ) แปลตามศัพท์ว่า “งานบูชา” (worthiness, venerableness = การควรเคารพ, ความน่านับถือ) เนื่องจากมีกำเนิดมาจากงานทางศาสนา ต่อมาจึงใช้ในความหมายว่า การฉลองทั่วไป (festival)

(2) อีกนัยหนึ่งท่านว่า “มห” ก็คือ “มหา” และ “มหา” ก็คือ “มหนฺต” แปลว่า “ยิ่งใหญ่” ดังที่เคยได้ทราบกันมาแล้ว

อุสฺสว” (อุด-สะ-วะ) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “งานเล่นสาดน้ำ” “งานเป็นที่คายความร้อน” (= เอาความร้อนมาทิ้งไว้ในงานนั้นด้วยการเล่นสาดน้ำ)

(2) “ที่หลั่งไหลไปด้วยความสำเร็จต่างๆ” (= เอาความสำเร็จของกิจการงานมาแสดงบอกกล่าวกันด้วยความยินดี)

ความหมายเดิมนั้น “อุสฺสว” เป็นงานที่จัดขึ้นตามเทศกาล หรืองานนักขัตฤกษ์ ไม่ใช่งานที่จัดตามเหตุการณ์

อุสฺสว” ในบาลี พจน.54 เก็บไว้ด้วย สะกดเป็น “อุสวะ” ( ตัวเดียว) บอกไว้ว่า –

อุสวะ : (คำนาม) การฉลอง, การรื่นเริง, การเล่นสนุก, มหรสพ”

มห + อุสฺสว = มหุสฺสว แปลว่า (1) งานฉลองตามเทศกาล (2) งานฉลองที่ยิ่งใหญ่

กระบวนการกลายรูปในภาษาไทย คือ –

(1) มห กลายเป็น มหรอุสฺ– หายไป เหลือแต่ –สว

(2) หรือจะว่า มห+อุสฺ > มหร ก็ได้

(3) –สว แปลง เป็น ตามสูตรที่เราคุ้นกันดี : สว > สพ

(4) มหร + สพ = มหรสพ อ่านตามแบบไทยว่า มะ-หอ-ระ-สบ

ข้อสังเกต :

(1) คำนี้เคยมีการเขียนผิดเป็น “มหรศพ” (- สาลา) แล้วมีผู้อธิบายผิดๆ ตามไปว่า เนื่องมาจากการละเล่นโขนละครลิเกหนังมักจัดให้มีในงานศพ จึงเรียกว่า “มหรพ”

(2) การที่จะเป็น “มหรสพ” นั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นโขนละครลิเกหนังวงดนตรีเสมอไป กิจกรรมอย่างใดๆ ที่จัดขึ้นเพื่อการเฉลิมฉลอง เช่น การกีฬา การเสวนา การอภิปราย การนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาแสดงบอกเล่า เป็นต้น ล้วนเรียกว่า “มหรสพ” ได้ทั้งสิ้น

: ชีวิตก็เหมือนมหรสพ

: ในที่สุดก็ต้องจบการแสดง

10-4-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย