บาลีวันละคำ

ฉกษัตริย์ [1] (บาลีวันละคำ 1,394)

ฉกษัตริย์ [1]

อ่านว่าอย่างไร

แปลว่าอะไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ฉกษัตริย์ : [ฉ้อกะสัด, ฉอกะสัด] (คำนาม) กษัตริย์ ๖ พระองค์, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๒ ของมหาชาติ.”

เป็นอันได้คำตอบว่า ในภาษาไทย คำว่า “ฉกษัตริย์” ท่านให้อ่านว่า ฉ้อ-กะ-สัด หรือ ฉอ-กะ-สัด ก็ได้

ฉกษัตริย์” ประกอบด้วย + กษัตริย์

(๑) “

ภาษาบาลีออกเสียงว่า ฉะ แปลว่า หก (จำนวน 6)

(๒) “กษัตริย์

บาลีเป็น “ขตฺติย” อ่านว่า ขัด-ติ-ยะ รากศัพท์มาจาก –

1) ขตฺต (ขัด-ตะ = ผู้ป้องกันเขตแคว้น) + อิย ปัจจัย ( = ผู้เกิด, ผู้เป็นเชื้อสาย)

: ขตฺต + อิย = ขตฺติย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดในตระกูลของผู้ป้องกันเขตแคว้น

2) เขตฺต (เขด-ตะ = นา) + อิย ปัจจัย ( = ผู้เป็นใหญ่), ลบ เอ ที่ เขตฺต (เขตฺต > ขตฺต)

: เขตฺต + อิย = เขตฺติย > ขตฺติย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเจ้าของนา” “ผู้เป็นใหญ่ของพวกชาวนา

ขตฺติย สันสกฤตเป็น “กฺษตฺริย” เราเขียนตามรูปสันสกฤตเป็น “กษัตริย์” (กะ-สัด)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

กฺษตฺริย : (คำนาม)  ‘กษัตริย,’ นรหรือสตรีชาตินักรบ; a man or woman of the military tribe.”

คำนี้มีปฐมเหตุจากการตั้งชุมชนของมนุษย์แต่ดึกดำบรรพ์ ที่ต้องอาศัยพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก เมื่อถูกมนุษย์พวกอื่นรบกวน ต้องมีคนที่คอยป้องกันเพื่อให้ชุมชนเพาะปลูกได้อย่างปลอดภัย

จึงเรียกคนที่ทำหน้าที่ป้องกันนี้ว่า “ขตฺติยกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่แห่งนา” ในความหมายดั้งเดิมคือ “ผู้ทำหน้าที่ปกป้องที่นาให้พ้นจากการรุกราน เพื่อให้คนอื่นๆ ทำนาได้อย่างสะดวกปลอดภัย”

ในการทำหน้าที่ปกป้องนี้ย่อมหลีกไม่พ้นที่จะต้องต่อสู้กับศัตรู ดังนั้น “ขตฺติยกษัตริย์” จึงมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “สายเลือดนักรบ

ในภาษาบาลี ผู้ที่ถูกเรียกว่า “ขตฺติย” ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (the king) เสมอไป ถ้าเทียบในภาษาไทย “ขตฺติย” ก็ตรงกับคำที่เราเรียกท่านผู้กำเนิดในสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า “เจ้านาย” นั่นเอง

+ ขตฺติย ในภาษาบาลีท่านให้ซ้อน กฺ ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นวรรคของพยัญชนะต้นของคำหลัง

(พยัญชนะต้นของคำหลังคือ “” พยัญชนะต้นวรรคของ คือ “” :         )

: + กฺ + ขตฺติย = ฉกฺขตฺติย (ฉัก-ขัด-ติ-ยะ) แปลว่า กษัตริย์หกพระองค์ หรือ เจ้านายทั้งหก

ฉกฺขตฺติย” ในภาษาไทยเขียน “ฉกษัตริย

ฉกฺขตฺติย” หรือ “ฉกษัตริย” เป็นชื่อ “กัณฑ์” ( = บท, เรื่องตอนหนึ่งในหนังสือเรื่องยาวที่แบ่งเป็นตอนๆ) ที่ 12 ในมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทั้งหมด 13 กัณฑ์

กษัตริย์หกพระองค์ หรือเจ้านายทั้งหกตามชื่อนี้ ก็คือ พระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี พระเวสสันดร พระนางมัทรี ชาลีกุมาร และกัณหา

อภิปราย :

ทำไมคำว่า “ฉกษัตริย์” จึงไม่อ่านว่า ฉะ-กะ-สัด แต่ให้อ่านว่า ฉ้อ-กะ-สัด หรือ ฉอ-กะ-สัด

น่าจะเป็นเพราะ –

๑. คำว่า “ฉะ” ในภาษาไทยมีความหมายกระเดียดไปในทางไม่สุภาพ เพื่อเลี่ยงเสียง “ฉะ” ซึ่งมีนัยประหวัดไปถึง “ฉะ” ในภาษาไทย จึงเปลี่ยนเป็น “ฉ้อ” หรือ “ฉอ” แทน

มีคำอื่นอีกที่ออกเสียงว่า “ฉอ” เช่น

ฉศก (เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 6) อ่านว่า ฉอ-สก ไม่ใช่ ฉะ-สก

ฉทานศาลา (ศาลาเป็นที่ทําทาน 6 แห่งที่ผู้มีฐานะมั่งคั่งสร้างไว้ในเมืองของตน ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมหาเศรษฐีของสังคมชมพูทวีป) อ่านว่า ฉ้อ-ทาน-นะ-สา-ลา ไม่ใช่ ฉะ-ทาน–

ฉกามาพจร (สวรรค์ 6 ชั้น) พจน.54 บอกคำอ่านว่า ฉะ-กา-มา-พะ-จอน แต่คนรุ่นเก่าอ่านคำนี้ว่า ฉ้อ-กา-มา– และยังติดมาในคำแปลว่า สวรรค์ฉ้อชั้น..

๒. อีกเหตุหนึ่ง อาจเป็นเพราะไทยเราออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัวเป็นเสียง “ออ” เช่น = กอ, = ขอ (บาลีออกเสียงเป็น “อะ” เช่น = กะ, = ขะ) พยัญชนะ 2 ตัวนี้เมื่อพูดรวมกัน โบราณออกเสียงว่า กอ-ข้อ “ก ข ก กา” อ่านว่า กอ-ข้อ-กอ-กา

ดังนั้น – ที่อยู่หน้าคำ เราจึงออกเสียงเป็น ฉอ- หรือ ฉ้อ- อนุวัตรตามหลักที่ว่านี้ไปด้วย

…….

: แม้ภาษาจะเป็นเรื่องสมมุติ

แต่ก็ต้องอ่าน-เขียนให้ถูกดีที่สุดตามวิธี

: เหมือนยศศักดิ์แม้จะเป็นเรื่องสมมุติ

แต่ก็ต้องได้มาอย่างบริสุทธิ์ถูกวิธี

————–

(แก้ปัญหาคาใจของ Ratchanee Cute-ngarmprink)

26-3-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย