บาลีวันละคำ

กรรมกร (บาลีวันละคำ 714)

กรรมกร

อ่านว่า กำ-มะ-กอน

บาลีเป็น “กมฺมกร” อ่านว่า กำ-มะ-กะ-ระ

ประกอบด้วย กมฺม + กร

กมฺม” (กำ-มะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work)

กมฺม” สันสกฤตเป็น “กรฺม” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กร” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + อ ปัจจัย : กรฺ + อ = กร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำ

กร” ยังหมายถึง “มือ” ได้ด้วย แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องทำงาน

กมฺม + กร = กมฺมกร แปลว่า “ผู้ทำงาน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กมฺมกร” เป็นภาษาอังกฤษดังนี้ –

(1) (คุณศัพท์) doing work, or active (ทำงาน หรือไม่อยู่นิ่ง)

(2) (คำนาม) a workman, a servant (กรรมกร, คนใช้), a handyman

(ผู้ที่ใช้งานได้สารพัด, ลูกมือ)

โปรดสังเกตว่า ฝรั่งที่เรียนบาลีไม่ไดแปล “กมฺมกร” (= กรรมกร) ว่า labour หรือ labourer

พจน.54 บอกไว้ว่า –

กรรมกร : (คำนาม) คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน”

วันแรงงาน” (labour day) นั้น เดิมเรียกว่า “วันกรรมกร” ต่อมารู้สึกกันว่าคำว่า “กรรมกร” มีความหมายในทางดูถูก จึงเปลี่ยนไปเรียกว่า “ผู้ใช้แรงงาน” และเรียกวันกรรมกรว่า “วันแรงงาน

คำว่า “แรง” แปลเป็นบาลีว่า “พล” (พะ-ละ) “งาน” ก็ยังคงตรงกับคำว่า “กมฺม

แรงงาน” ถ้าผูกเป็นคำตามหลักบาลีก็ตรงกับ “กมฺมพล” (“กมฺมนฺตพล” ก็ได้ แต่เสียงไม่รื่น) แปลตรงตัวว่า “แรงงาน

กมฺมพล” อ่านว่า กำ-มะ-พะ-ละ เขียนแบบไทยเป็น “กรรมพล” อ่านตามหลักว่า กำ-มะ-พน แต่เชื่อว่าจะต้องมีคนอยากอ่านว่า กำ-พน ซึ่งก็จะไปพ้องกับคำว่า “กัมพล” หรือ “กำพล” ที่มีผู้นิยมใช้เป็นชื่อกันมาก

และคำบาลีว่า “กมฺมพล” เองก็ไปพ้องกับความหมายที่ว่า “กำลังแห่งกรรม” หรือแปลสั้นๆ ว่า “แรงกรรม” ซึ่งภาษาบาลีก็ใช้คำว่า “กมฺมพล

เป็นอันว่า กมฺมกร <> กรรมกร <> แรงงาน <> กมฺมพล <> แรงกรรม ถ้าแปลเป็นบาลีก็จะมีความหมายพัลวันกันไปหมด ด้วยประการฉะนี้

: แรงงานฤๅจะทานแรงกรรม

: รอผลดลบันดาลฤๅจะทานการลงมือทำ

#บาลีวันละคำ (714)

1-5-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *