บาลีวันละคำ

สถาปัตยกรรม (บาลีวันละคำ 1,307)

สถาปัตยกรรม

อ่านว่า สะ-ถา-ปัด-ตะ-ยะ-กำ

ประกอบด้วย สถาปัตย + กรรม

(๑) “สถาปัตย” เป็นรูปคำสันสกฤต “สฺถาปตฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “สฺถาปตฺย” บอกไว้ว่า –

สฺถาปตฺย : (คำนาม) ‘สถาบัตย์,’ ผู้ระวังรักษาห้องนางใน; a guard of the women’s apartment.”

ความหมายเป็นคนละเรื่องกับ  “สถาปัตย” ที่เข้าใจกันในภาษาไทย

สฺถาปตฺย” แปลกลับเป็นบาลีที่ใกล้ที่สุดคือ ฐปิต > ฐาปิจฺจ > สฺถาปตฺย

(๑) “ฐปิต” (ถะ-ปิ-ตะ) รากศัพท์มาจาก ฐา (ธาตุ = วาง, ตั้ง, ยืน) แปลง ฐา เป็น ฐปฺ + อิ อาคม + ปัจจัย

: ฐา > ฐปฺ + อิ = ฐปิ + = ฐปิต เป็นคำกริยาอดีตกาล กรรมวาจก แปลตามศัพท์ว่า “ถูกตั้งไว้” ใช้ในความหมายว่า –

(1) วางไว้, วางลง; ตั้งไว้, จัด (placed, put down; set up, arranged)

(2) พักไว้, เหลือไว้, เอาไว้ต่างหาก (suspended, left over, set aside)

(๒) “ฐาปิจฺจ” (ถา-ปิด-จะ) มาจาก ฐปิต + ณฺย ปัจจัย, ลบ , แปลง ตฺย (คือ – ที่ ฐปิต + ที่ ณฺย) เป็น จฺจ, ทีฆะต้นศัพท์ คือ เป็น ฐา

: ฐปิต + ณฺย = ฐปิตณฺย > ฐปิตฺย > ฐาปิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งสิ่งที่ถูกตั้งขึ้น

บาลี “ฐาปิจฺจ” เป็น “สฺถาปตฺย” ในสันสกฤต

โปรดทราบว่า ที่ว่ามานี้เป็นการเทียบศัพท์เท่านั้น ในบาลียังไม่พบคำว่า “ฐาปิจฺจ” ที่มีความหมายเหมือน “สฺถาปตฺย” แต่ประการใด

(๒) “กรรม” เป็นการเขียนอิงสันสกฤตซึ่งเป็น “กรฺมนฺ

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (กรฺ > -) และ ที่ต้นปัจจัย (รมฺม > –มฺม)

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work)

สถาปัตย + กรรม = สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรม” เป็นคำที่บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า architecture

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล architecture เป็นบาลีว่า –

nimmāṇasippa นิมฺมาณสิปฺป (นิม-มา-นะ-สิบ-ปะ) แปลว่า ศิลปะวิทยาการในการนฤมิต คือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สถาปัตยกรรม : (คำนาม) ศิลปะและวิทยาเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ. (ส.สฺถาปตฺย + กรฺมนฺ).”

: สถาปัตยกรรมที่งามหมดจด เป็นเกียรติยศของชาติ

: สถาปัตยกรรมที่อุจาด เป็นความอัปยศของคนจังไร

27-12-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย