บาลีวันละคำ

ปรัปวาท (บาลีวันละคำ 1,309)

ปรัปวาท

อ่านว่า ปะ-รับ-ปะ-วาด

ประกอบด้วย ปร + ปวาท

(๑) “ปร

บาลีอ่านว่า ปะ-ระ รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ หึสา = เบียดเบียน) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ

: + รมฺ = ปรมฺ + กฺวิ = ปรมกฺวิ > ปรม > ปร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยินดีในการเบียดเบียน” ในที่นี้หมายถึง –

(1) อีกอันหนึ่ง, อื่นอีก, อื่น (another, other)

(2) ศัตรู, ปรปักษ์ (enemies, opponents)

(๒) “ปวาท

บาลีอ่านว่า ปะ-วา-ทะ รากศัพท์มาจาก (ทั่วไป, ข้างหน้า) + วทฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” : วทฺ > วาท

: + วทฺ = ปวทฺ + = ปวทณ > ปวท > ปวาท แปลตามศัพท์ว่า “การพูดไปข้างหน้า” หมายถึง การพูด, การถกเถียง, การสนทนาหรืออภิปราย (talk, disputation, discussion)

ปวาท” ตรงกับสันสกฤตว่า “ปฺรวาท

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ปฺรวาท : (คำนาม) ‘ประวาท,’ ข่าว, รายงาร; ภาษณ์, คำพูด; คำหรือการท้ารบ, ถ้อยคำท้าทายของประติปักษ์ก่อนรบกัน; rumour, report; discourse, conversation; mutual defiance, the conversation of antagonists prior to combat.”

ปร (+ ปฺ) + ปวาท = ปรปฺปวาท (ปะ-รับ-ปะ-วา-ทะ) แปลตามศัพท์ว่า “การโต้แย้งจากฝ่ายอื่น” หรือ “การท้ารบจากศัตรู

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปรปฺปวาท” ว่า disputation with another, challenge, opposition in teaching (การโต้เถียงกับผู้อื่น, การท้าทาย, การขัดกันในการสอน)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

ปรัปวาท : คำกล่าวของคนพวกอื่นหรือลัทธิอื่น, คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของคนพวกอื่น, หลักการของฝ่ายอื่น, ลัทธิภายนอก; คำสอนที่คลาดเคลื่อนหรือวิปริตผิดเพี้ยนไปเป็นอย่างอื่น.”

ปรัปวาท” คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

: คำชมของศัตรู คือยาพิษ

: คำตำหนิของมิตร คือยาใจ

29-12-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย