บาลีวันละคำ

อนามัฏฐบิณฑบาต (บาลีวันละคำ 1,315)

อนามัฏฐบิณฑบาต

ไม่คุ้น แต่ควรรู้จัก

อ่านว่า อะ-นา-มัด-ถะ-บิน-ทะ-บาด

ประกอบด้วย อนามัฏฐ + บิณฑบาต

(๑) “อนามัฏฐ

บาลีเขียน “อนามฏฺฐ” (อะ-นา-มัด-ถะ) ประกอบขึ้นจาก + อามฏฺฐ

1) “อามฏฺฐ” รากศัพท์มาจาก อา (ทั่วไป) + มสฺ (ธาตุ = จับต้อง) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่ (ม)-สฺ กับ เป็น ฏฺฐ

: อา + มสฺ = อามสฺ + = อามสต > อามฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “-ที่ถูกจับต้องแล้ว” หมายถึง ถูกสัมผัส, ถูกแตะต้อง, ถูกจับต้อง (touched, handled)

2) (ไม่, ไม่ใช่) + อามฏฺฐ, แปลง เป็น อน (อะ-นะ) ตามกฎการแปลงที่ว่า ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น (อะ), ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ แปลง เป็น อน, ในที่นี้ “อามฏฺฐ” ขึ้นต้นด้วยสระ (อา-) จึงแปลง เป็น อน

: > อน + อามฏฺฐ = อนามฏฺฐ แปลว่า “-ที่ยังไม่ถูกจับต้อง” หมายถึง สิ่งที่ไม่ถูกแตะต้อง, ไม่เคยมีใครมาแตะต้อง (not touched, virgin)

(๒) “บิณฑบาต

บาลีเป็น “ปิณฺฑปาต” (ปิน-ดะ-ปา-ตะ) ประกอบด้วย ปิณฺฑ + ปาต

1) “ปิณฺฑ” แปลว่า – (1) ก้อน, ก้อนกลม, มวลที่หนาและกลม (a lump, ball, thick & round mass) (2) ก้อนข้าว โดยเฉพาะที่ถวายพระหรือให้ทาน, ทานที่ให้เป็นอาหาร (a lump of food, esp. of alms, alms given as food)

2) “ปาต” แปลว่า (1) การตก (fall) (2) การโยน, การขว้าง (throwing, a throw)

ปิณฺฑ + ปาต = ปิณฺฑปาต แปลตามศัพท์ว่า “การตกของก้อนข้าว” “การโยนก้อนข้าว” หมายถึง ทำอาหารให้ตกลงไปในบาตร, อาหารที่บิณฑบาตได้มา (alms-gathering, food received in the alms-bowl)

ปิณฺฑปาต” ภาษาไทยใช้ว่า “บิณฑบาต” ( แปลงเป็น , บาต ไม่มี )

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บิณฑบาต : (คำนาม) อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. (คำกริยา) กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า การตกแห่งก้อนข้าว).”

อนามฏฺฐสฺ + ปิณฺฑปาต = อนามฏฺฐสฺปิณฺฑปาต > อนามัฏฐบิณฑบาต แปลว่า “บิณฑบาตที่ยังไม่ได้จับต้อง” หมายถึงอาหารที่พระภิกษุบิณฑบาตได้มาและยังมิได้ฉัน

มีพระวินัยบัญญัติไว้ว่า อนามัฏฐบิณฑบาตนั้นภิกษุจะหยิบยกให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งที่มิใช่ภิกษุด้วยกันมิได้ มีโทษทางพระวินัยฐานทำให้ “สัทธาไทย” ตกไป คือทำให้สิ่งที่มีผู้ถวายมาไม่เป็นไปตามเจตนาของผู้ถวาย

แต่ก็มีบุคคลฆราวาสที่พระวินัยยกเว้นหรือให้สิทธิพิเศษที่ภิกษุสามารถยกอนามัฏฐบิณฑบาตให้รับประทานก่อนได้ ตามคัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย ท่านแสดงไว้ กล่าวคือ –

๑. บิดามารดาของภิกษุนั้น

๒. ผู้ปรนนิบัติดูแลบิดามารดาของภิกษุนั้น

๓. ไวยาวัจกร คือผู้มีหน้าที่ทำกิจต่างๆ แทนพระ

๔. บุคคลผู้เตรียมบวชขณะพำนักอยู่ในอารามนั้น

๕. พระราชาหรือผู้ปกครองบ้านเมืองที่มาถึงเข้าในเวลานั้น

๖. โจรผู้ร้ายที่เข้ามาขู่เข็ญ

ไฉนพระวินัยจึงให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องที่พึงศึกษาต่อไป

: กินก่อนพระ เป็นเปรตกลางดง

: กินของสงฆ์ เป็นเปรตกลางวัด

4-1-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย