บาลีวันละคำ

พุทธมามกะ (บาลีวันละคำ 1,325)

พุทธมามกะ

อ่านว่า พุด-ทะ-มา-มะ-กะ

ประกอบด้วย พุทธ + มามกะ

(๑) “พุทธ

บาลีเขียน “พุทฺธ” (มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า พุด-ทะ รากศัพท์มาจาก พุธฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลง ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ, แปลง เป็น ธฺ (นัยหนึ่งว่า แปลง ธฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ทฺธ)

: พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺต > พุทฺธ (พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺธ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้ทุกอย่างที่ควรรู้

พุทฺธ” แปลตามศัพท์ได้เกือบ 20 ความหมาย แต่ที่เข้าใจกันทั่วไปมักแปลว่า –

(1) ผู้รู้ = รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง

(2) ผู้ตื่น = ตื่นจากกิเลสนิทรา ความหลับไหลงมงาย

(3) ผู้เบิกบาน = บริสุทธิ์ผ่องใสเต็มที่

ความหมายที่เข้าใจกันเป็นสามัญ หมายถึง “พระพุทธเจ้า

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “พุทฺธ” ว่า –

one who has attained enlightenment; a man superior to all other beings, human & divine, by his knowledge of the truth, a Buddha (ผู้ตรัสรู้, ผู้ดีกว่าหรือเหนือกว่าคนอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์และเทพยดาด้วยความรู้ในสัจธรรมของพระองค์, พระพุทธเจ้า)

(๒) “มามกะ

บาลีเขียน “มามก” (มา-มะ-กะ) รากศัพท์มาจาก มม (“ของข้าพเจ้า”) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ), “ทีฆะต้นธาตุ” = ยืดเสียง อะ ที่ -(ม) เป็น อา

ความรู้หลักไวยากรณ์ :

๑ “มม” (มะ-มะ) เป็นสรรพนาม ศัพท์เดิมคือ “อมฺห” (อำ-หะ) = ข้าพเจ้า, ฉัน, ข้า, กู แจกด้วยวิภัตตินามที่หก (ฉัฏฐีวิภัตติ) ได้รูปเป็น “มม” แปลว่า “ของข้าพเจ้า” (เทียบคำอังกฤษ: I > my > mine)

ณฺวุ ปัจจัย ตามกฎใช้ประกอบท้ายธาตุ. มม เป็นนาม แต่ใช้กฎพิเศษ ลง อาย (อา-ยะ) ปัจจัยแปลงนามเป็นกริยา : มม + อาย = มมาย (มะ-มา-ยะ) แปลตามศัพท์ว่า “ประพฤติเพียงดังว่าของข้าพเจ้า” หมายถึง ติดพัน, รัก, ชอบ, เชิดชู, ทะนุถนอม, เลี้ยง, รักษา, ส่งเสริม, รัก (to be attached to, to be fond of, to cherish, tend, foster, love)

๓ “มมาย” จึงมีสถานะเป็นธาตุ + ณฺวุ ปัจจัย, ลบ อาย, แปลง ณฺวุ เป็น อก, ทีฆะต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย (ณฺวุ : ปัจจัยเนื่องด้วย ณ)

: มมาย > มม + ณฺวุ (> อก) = มมก > มามก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประพฤติเพียงดังว่าของข้าพเจ้า” (“mine”) หมายถึง ผู้แสดงความรักใคร่ (มิใช่เฉพาะตัวเขาเอง), ทำให้เป็นของตนเอง, ภักดี, รักใคร่ (one who shows affection (not only for himself), making one’s own, devoted to, loving)

พุทฺธ + มามก = พุทฺธมามก > พุทธมามกะ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประพฤติเพียงดังว่าพระพุทธเจ้าเป็นของข้าพเจ้า

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “พุทฺธมามก” ว่า devoted to the Buddha (มีความภักดีต่อพระพุทธเจ้า), devotedly attached to the Buddha. (ผูกพันอย่างภักดีต่อพระพุทธเจ้า)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

พุทธมามกะ (Buddhamāmaka) : one devoted to the Buddha; one who professes Buddhism; Buddhist.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พุทธมามกะ : (คำนาม) ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของตน, ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา.”

?รัก?

: ครั้งเดียวทำให้เห็นประจักษ์

: ดีกว่าปากบอกรักตั้งพันคำ

15-1-59

ต้นฉบับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *