บาลีวันละคำ

พิลาป (บาลีวันละคำ 770)

พิลาป

อ่านว่า พิ-ลาบ

บาลีเป็น “วิลาป” อ่านว่า วิ-ลา-ปะ

วิลาป” รากศัพท์มาจาก วิ (= พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + ลป (ธาตุ = กล่าว, พูด, บอก) + ปัจจัย

ปัจจัยตัวนี้ลงแล้วลบเสีย แต่มีอำนาจยืดเสียง (ภาษาไวยากรณ์ว่า “ทีฆะ”) อะ ที่ต้นธาตุ (คือ -) เป็น อา = ล- > ลา-

: วิ + ลป = วิลป + = วิลป > วิลาป แปลตามศัพท์ว่า “การพูดอย่างพิเศษ” หมายถึง พูดอย่างผิดปกติ คือการร้องคร่ำครวญ

วิลาป” ถ้าเป็นคำกริยา (ประถมบุรุษ เอกพจน์) เป็น “วิลปติ” (วิ-ละ-ปะ-ติ) แปลว่า –

(1) พูดพร่ำ (to talk idly)

(2) ครวญ, พร่ำเพ้อ (to lament, wail)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วิลาป” ว่า idle talk (การพูดเรื่อยเปื่อย, พูดพล่าม)

วิลาป” ในภาษาไทยแปลง เป็น : วิลาป > พิลาป พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พิลาป : (คำกริยา) รํ่าไรรําพัน, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, บ่นเพ้อ. (ป., ส. วิลาป)”

หนังสือ พระปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ปริจเฉทที่ 18 มีชื่อว่า “พิมพาพิลาปปริวัตต์” มีความหมายว่า เรื่องราวตอนที่ว่าด้วยการคร่ำครวญของพระนางพิมพา

“นกพิราบ” (นกชนิดหนึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา รูปร่างคล้ายกันแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทาอมฟ้า หากินบนพื้นดิน เมืองไทยพบได้ง่ายในวัดทั่วไป ชอบอาศัยอยู่ตามหลังคาโบสถ์วิหาร) มักมีผู้เขียนผิดเป็น “นกพิลาป” และมีผู้อธิบายลากเข้าวัดว่า เพราะธรรมชาติของนกชนิดนี้มักร้องคล้ายคนครวญคราง

ยามทุกข์แสนสาหัส :

พระโสดาบันยังร้องไห้

เราเป็นใครจึงจะไม่คร่ำครวญ ?

—————–

(ตามคำขอของ Chakkris Uthayophas)

#บาลีวันละคำ (770)

27-6-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *