บาลีวันละคำ

ฐิตธมฺโม (บาลีวันละคำ 1,338)

ฐิตธมฺโม

แปลว่า ผู้สถิตธรรม

พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559 สื่อต่างๆ เอ่ยถึงชื่อของท่านชุกชุมเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันก็ได้พบการเขียนนามฉายาของท่านคลาดเคลื่อนมากเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน

หลวงพ่อจรัญมีนามฉายาเป็นภาษาบาลีว่า ฐิตธมฺโม อ่านว่า ถิ-ตะ-ทำ-โม

ประกอบด้วย ฐิต + ธมฺโม

(๑) “ฐิต” (ถิ-ตะ)

รากศัพท์มาจาก ฐา (ธาตุ = หยุด, ยืน, ตั้งอยู่, มั่นคง) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ฐา > ), ลง อิ อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (ฐา + อิ + )

: ฐา > + อิ + = ฐิต แปลตามศัพท์ว่า “ยืนแล้ว” “ตั้งอยู่แล้ว

ฐิต” เป็นคำกริยาและใช้เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า –

(1) ยืนอยู่, ยืนตรง (standing, upright)

(2) ไม่เคลื่อนไหว, ดำรงอยู่ (immovable, being)

(3) ชั่วกาลนาน, คงทน (lasting, enduring)

(4) มั่นคง, แน่นอน, ควบคุมได้ (steadfast, firm, controlled)

(๒) “ธมฺโม” (ทำ-โม)

เป็นศัพท์ที่ประกอบวิภัตติสำเร็จรูปแล้ว (ปุงลิงค์ วิภัตตินามที่หนึ่ง [ปฐมาวิภัตติ] เอกพจน์) ศัพท์เดิมคือ “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ และ ต้นปัจจัย

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม มีความหมายหลายหลาก แต่ในที่นี้หมายเฉพาะคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ธมฺม สันสกฤตเป็น ธรฺม ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น ธรรม

ฐิต + ธมฺม = ฐิตธมฺม แจกวิภัตติเป็น “ฐิตธมฺโม

การกระจายคำเพื่อหาความหมายตามกระบวนการทางไวยากรณ์: รูปวิเคราะห์

(1) ฐิโต ธมฺโม ยสฺมึ โส ฐิตธมฺโม (สัตตมีพหุพพิหิสมาส)

ธรรม สถิตอยู่แล้ว ในพระเถระใด พระเถระนั้นชื่อว่า ฐิตธมฺโม ผู้มีธรรมอันสถิตอยู่แล้ว = มีธรรมสถิตอยู่ในตน

(2) ธมฺเม ฐิโต ฐิตธมฺโม (สัตตมีตัปปุริสสมาส)

(พระเถระใด) สถิตอยู่แล้ว ในธรรม (เหตุนั้น พระเถระนั้น) ชื่อว่า ฐิตธมฺโม ผู้สถิตอยู่แล้วในธรรม = มีตนสถิตอยู่ในธรรม

ระวังอย่าเขียนผิด :

ฐิตธัมฺโม : –ธัมฺ– มีจุดใต้ ด้วย ใช้ไม้หันอากาศด้วย > ผิด

ฐิตธรรมโม : –ธรรม– ใช้ ร หัน เหมือนคำไทย > ผิด

เขียนให้ถูก :

แบบอักขรวิธีบาลี : ฐิตธมฺโม (-ธมฺ– มีจุดใต้ ไม่ต้องมีไม้หันอากาศ)

แบบอักขรวิธีไทย : ฐิตธัมโม (-ธัม– ใช้ไม้หันอากาศ ไม่ต้องมีจุดใต้ )

หมายเหตุ :

เมื่อใช้อักษรไทยเขียนคำบาลี เฉพาะ ฐาน และ หญิง ท่านให้ตัดเชิงออก

: หาธรรม พบธรรมได้ทุกที่

: แต่หาผู้สถิตธรรม หาพบได้เป็นบางที่

28-1-59

ต้นฉบับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *