บาลีวันละคำ

จุฑาธิป – จุฑาทิพย์ (บาลีวันละคำ 1,340)

จุฑาธิปจุฑาทิพย์

ตัวอย่างของการเกิดคำพ้องเสียง

(๑) “จุฑาธิป

อ่านว่า จุ-ทา-ทิบ ประกอบด้วย จุฑา + อธิป

1) จุฑา เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “จูฬา” (เป็น “จุฬา” ก็มี) รากศัพท์มาจาก จูฬฺ (ธาตุ = งอกขึ้น) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: จูฬ + = จูฬ + อา = จูฬา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งอกขึ้น” หมายถึง นูน, โหนก; หน่อ, ปุ่ม, ยอด (swelling, protuberance; root, knot, crest) โดยนัย หมายถึงสิ่งที่อยู่สูงสุด เป็นจอมหรือเป็นยอดในหมู่พวก

2) อธิป บาลีอ่านว่า อะ-ทิ-ปะ รากศัพท์มาจาก อธิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) + (ตัดมาจาก ปาล = ผู้รักษา หรือ ปติ = เจ้า, นาย)

: อธิ + ปาล = อธิปาล > อธิป แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักษาที่ยอดยิ่ง

: อธิ + ปติ = อธิปติ > อธิป แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นนายที่ยอดยิ่ง

อธิป” หมายถึง ผู้ปกครอง, อธิบดี, ผู้เป็นใหญ่ (ruler, lord, master)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อธิป, อธิป-: (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนําหน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).”

จูฬา > จุฑา + อธิป = จุฑาธิป (จุ-ทา-ทิ-ปะ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นใหญ่ที่อยู่สูงสุด” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน หรือยอดคน

จุฑาธิป ในภาษาไทยอ่านว่า จุ-ทา-ทิบ เมื่อฟังเสียงชวนให้เขียนเป็น “จุฑาทิพย์” อันเนื่องมาจากเราไม่คุ้นกับรูปคำ “-อธิป” (อะ-ทิบ) จึงนึกไม่เห็นว่าเสียง “ทิบ” จะสะกดเป็น “-ธิป” ไปได้อย่างไร แต่เราคุ้นกับคำว่า “ทิพย์” มากกว่า

จุฑาธิป” จึงกลายเป็น “จุฑาทิพย์” โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นชื่อคน

(๒) “จุฑาทิพย์

อ่านว่า จุ-ทา-ทิบ ประกอบด้วย จุฑา + ทิพย์

1) จุฑา ดูข้างต้น

2) ทิพย์ เป็นรูปที่เขียนอิงสันสกฤต บาลีเป็น “ทิพฺพ” (ทิบ-พะ) รากศัพท์มาจาก ทิว (สวรรค์) + วสฺ (ธาตุ = อยู่) + กฺวิ ปัจจัย, แปลง วว : (ทิ)+(สฺ) เป็น พฺพ, ลบ สฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ

: ทิว + วสฺ = ทิววสฺ + กฺวิ = ทิววสกฺวิ > ทิววส > ทิวว > ทิพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อยู่บนสวรรค์” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง เกี่ยวกับโลกหน้า, เกี่ยวกับสวรรค์, เป็นของสวรรค์, ที่อยู่บนฟ้า, ยอด, ดีเลิศ, เหมาะสำหรับสัตว์ที่สูงกว่ามนุษย์ (of the next world, divine, heavenly, celestial, superb, magnificent, fit for exalted beings higher than man)

ทิพฺพ สันสกฤตเป็น “ทิพฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ทิพฺย : (คำคุณศัพท์) อันเปนทิพย์, อันเปนสัมพันธินแก่เทพดาหรือสวรรค์ชั้นฟ้า; งาม, น่าเอ็นดู, น่ารัก, เปนที่พอใจ; divine, celestial, heavenly; beautiful, pretty, charming, agreeable; – (คำนาม) ประเวฏหรือยวะ, ข้าวบาร์ลี; ทิพยวรรณ; กานพลู; ประติชญา, คำหรือการศบถ; การแสดงหรือพิสูจน์ความสัตย์; barley; the divine character; cloves; an oath; an ordeal.”

จูฑา + ทิพฺพ > ทิพฺย = จุฑาทิพฺย > จุฑาทิพย์ แปลตามศัพท์ว่า “จอมที่ยอดเยี่ยมเทียมสวรรค์” หมายถึง สิ่งที่มีค่าสูงส่ง ถ้าเป็นคนก็เป็นยอดคน

พึงทราบว่า “จุฑาทิพย์” เป็นคำที่เขียนคลาดเคลื่อนมาจาก “จุฑาธิป” นั่นเอง แต่พอดีว่าได้ความหมายที่ดี จึงกลายเป็นคำพ้องเสียงที่ถูกต้องไปอีกคำหนึ่ง

: ถ้ายกใจให้สูงสุด

: ก็เป็นยอดมนุษย์ทันที

————–

(ตามคำถามของ จุฑามาศ ผ้ากันเปื้อน)

30-1-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย