บาลีวันละคำ

เศรษฐี (บาลีวันละคำ 1,341)

เศรษฐี

อ่านว่า เสด-ถี

เศรษฐี” สันสกฤตสะกดเป็น “เศฺรษฺฐินฺ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

เศฺรษฺฐินฺ : (คำคุณศัพท์) ดียิ่ง, เอก; best, chief; – (คำนาม) ศิลปินผู้วิศิษฏชาติ; หัวน่า, ผู้เปนประธาน, ประธานาธิบดี; an artist eminent by birth; the head or chief; a foreman, a president.”

เศรษฐี” บาลีเป็น “เสฏฺฐี” (เสด-ถี) รากศัพท์มาจาก เสฏฺฐ + อี ปัจจัย

(๑) “เสฏฺฐ” (เสด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปสตฺถ (ประเสริฐ) + อิฏฺฐ ปัจจัย, แปลง ปสตฺถ เป็น , แผลง อิ ที่ อิ-(ฏฺฐ) เป็น เอ (อิฏฺฐ > เอฏฺฐ)

: ปสตฺถ > + อิฏฺฐ = สิฏฺฐ > เสฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ประเสริฐกว่าสิ่งประเสริฐทั้งปวง

(2) สิสฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + ปัจจัย, แปลง เป็น ฏฺฐ, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ, แผลง อิ ที่ สิ-(สฺ) เป็น เอ (สิสฺ > เสสฺ)

: สิสฺ > เสสฺ > เส + = เสต > เสฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้คนปรารถนา

เสฏฺฐ” หมายถึง :

(1) ประเสริฐ, ดีที่สุด, ยอดเยี่ยม, วิเศษ (best, excellent)

(2) สิ่งที่ปรารถนา, สมบัติ, เงินทอง (treasure, wealth)

(๒) เสฏฺฐ + อี ปัจจัย

: เสฏฺฐํ อสฺส อตฺถีติ ( : เสฏฺฐ + อี = ) เสฏฺฐี : สมบัติของผู้นั้นมีอยู่ ดังนั้น เขาจึงชื่อว่า เสฏฺฐี = ผู้มีสมบัติ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เสฏฺฐี” ว่า foreman of a guild, treasurer, banker, “City man”, wealthy merchant (ผู้นำของสมาคม, เศรษฐี, นายธนาคาร, “นักธุรกิจ”, พ่อค้าที่ร่ำรวย)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เศรษฐี : (คำนาม) คนมั่งมี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง, ดาวกา ดาวไซ ดาวศรวิษฐา หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก. (ส. ว่า ประมุขพ่อค้า; ป. เสฏฺฐิ).”

คำว่า “เศรษฐกิจ” ก็มีรากศัพท์มาจาก “เสฏฺฐ” (ทรัพย์สมบัติ, เงินทอง) บางคนจึงแปลคำว่า “เศรษฐกิจ” ว่า “กิจที่ทำให้คนเป็นเศรษฐี

ผู้รู้บอกว่า ในสมัยโบราณ ความเป็นเศรษฐีไม่ได้วัดกันด้วยจำนวนทรัพย์สมบัติ แต่วัดกันด้วยจำนวนโรงทานว่าใครจะมีมากกว่ากัน

ท่านพุทธทาสภิกขุให้คำจำกัดความว่า เศรษฐี คือคนที่ขยันหาทรัพย์ให้ได้มากที่สุด แต่กินใช้พอประมาณ ส่วนที่เหลือเอาออกทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์

: ถ้าตีราคาพระพุทธศาสนาเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ

: คืออภิมหาวิปริตกำลังครอบงำ

31-1-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย