บาลีวันละคำ

ประหาร (บาลีวันละคำ 786)

ประหาร

อ่านว่า ปฺระ-หาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประหาร : (คำนาม) การตี, การฟัน, การล้าง, การผลาญ.ก. ฆ่า, ทําลาย. (ส. ปฺรหาร; ป. ปหาร)”

ประหาร” บาลีเป็น “ปหาร” (ปะ-หา-ระ) สันสกฤตเป็น “ปฺรหาร” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ประหาร

ปหาร” รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + หรฺ ธาตุ + ปัจจัย, ทีฆะ (ยืดเสียง) สระที่ต้นธาตุ ด้วยอำนาจของปัจจัยที่มี “” : > อา

: + หรฺ > หาร = ปหาร + = ปหาร

หรฺ ธาตุ มีความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) มีความหมายว่า “นำไป” แต่เมื่อมีคำอุปสรรคนำหน้าความหมายจะเปลี่ยนไป ในที่นี้มี “” นำหน้า ควรจะหมายถึง “นำไปทั่ว” หรือ” “นำไปข้างหน้า” กลับแปลว่า ทุบ ตี โบย

(2) แม้ไม่มีคำอุปสรรคนำ “หรฺ” ก็มีความหมายว่า “ต่อสู้, ตบ, ตี” อยู่ในตัวเอง เมื่อมีอุปสรรคนำเป็น “ปหร” ความหมายก็ไม่เปลี่ยน ยังคงแปลว่า ต่อสู้, ทุบตี, โบย

ปหาร” จึงแปลว่า การประหัตประหารหรือประทุษร้าย, การทุบ, การตี (a blow, stroke, hit)

ปหาร” เป็นอาการนาม คำกริยา ปฐมบุรุษ เอกพจน์ เป็น “ปหรติ” แปลว่า “กระทบ” คือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทบกับเป้าหมาย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปหรติ” ว่า to strike, hit, beat (ประหัตประหาร, ตบ, ต่อย, กระทบ, ตี)

ในภาษาไทย มักให้น้ำหนักคำว่า “ประหาร” ว่า ฆ่า คือทำให้ตาย ดังคำว่า “ประหารชีวิต” (ลงโทษฆ่า)

แต่ในภาษาบาลี “ปหาร” จะมีความหมายย่อยแตกต่างกันออกไป เช่น –

ประหารด้วยฝ่ามือ = ตบ

ประหารด้วยกำมือ = ต่อย, ชก

ประหารด้วยด้วยเท้า = เตะ, ถีบ

ประหารด้วยศอก = ถอง

ประหารด้วยไม้ = ตี, ฟาด, หวด

ประหารด้วยดาบ = ฟัน

ประหารด้วยหอก = แทง

จะเห็นได้ว่า “ประหาร” ในภาษาบาลีหมายถึง “ทำร้าย” ไม่ใช่ “ทำให้ตาย

จะทำร้ายหรือจะทำให้ตาย ก็ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง :

– หน้าที่ตามธรรมของมนุษย์ : อภัย ไม่อาฆาตพยาบาทกันต่อไป

– หน้าที่ของผู้ปกครองบ้านเมือง : ต้องเด็ดขาด และพร้อมที่จะตกนรกแทนประชาราษฎร

—————-

(ตามคำถามของ ณัฐนรินทร์ เมธีวุฒินันทน์ ภาณุภัทรธนวัฒน์)

#บาลีวันละคำ (786)

13-7-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *