บาลีวันละคำ

อาชญากร (บาลีวันละคำ 787)

อาชญากร

อ่านว่า อาด-ยา-กอน และ อาด-ชะ-ยา-กอน

(ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554)

ประกอบด้วย อาชญา + กร

อาชญา” เป็นรูปคำสันสกฤต

บาลีเป็น “อาณา” (อา-นา)

อาณา” ตามรากศัพท์แปลว่า “การบอกให้รู้ทั่ว” ขยายความว่า “ประกาศให้รู้และให้ปฏิบัติตาม” หมายถึง คำสั่ง, ข้อบังคับ, การบังคับบัญชา, การสั่ง, อำนาจ (order, command, authority)

กร” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย

: กรฺ + = กร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำ” หมายถึง ผลิต, ก่อ, ประกอบ, สร้าง, กระทำ (producing, causing, forming, making, doing)

กร” ยังหมายถึง “ผู้ทำ” (the maker) โดยตรง และตีความว่าหมายถึง “มือ” ได้ด้วย แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องทำงาน

อาชญา + กร = อาชญากร พจน.54 บอกไว้ว่า –

อาชญากร : ผู้ก่ออาชญากรรม, ผู้กระทําความผิดที่เป็นคดีอาญา”

คำว่า “อาชญา” และ “อาชญากรรม” พจน.54 บอกไว้ว่า –

อาชญา : อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา).

อาชญากรรม : การกระทําความผิดทางอาญา.

(คำว่า “อาญา” พจน.54 บอกความหมายเหมือนคำว่า “อาชญา”)

ในภาษาไทย คำว่า “อาญา” หรือ “อาชญา” มักเน้นความหมายว่า “ความผิด” เฉพาะคำว่า “อาชญากรรม” ก็มักเข้าใจกันในความหมายว่า เป็นความผิดร้ายแรง เช่น ปล้น หรือฆ่าคน

แต่ “อาณา” หรือ “อาชญา” ในบาลีสันสกฤต หมายถึง คำสั่ง ข้อบังคับ หรืออำนาจในกระบวนการปกครอง

ไม่ใด้มีความหมายว่า ความผิด หรือการทำความผิด

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “อาชฺญากร” บอกความหมายไว้ว่า :

– (คำคุณศัพท์) ปฏิบัติตามคำสั่ง, ฟังบังคับบัญชา; performing an order, obeying or obedient.

– (คำนาม) คนใช้; a servant.

จะเห็นได้ว่า “อาชญากร” ที่ใช้ในภาษาไทย รูปคำและรากศัพท์ก็ตรงกับ “อาชฺญากร” ในสันสกฤต แต่ความหมายต่างกันแทบจะตรงกันข้าม

อาชฺญากร” ในสันสกฤต หมายถึง “ผู้ทำตามคำสั่ง

แต่ “อาชญากร” ในภาษาไทย หมายถึง “ผู้ทำความผิด (ร้ายแรง)

คำกับคน :

คำบางคำ มาจากที่เดียวกัน แต่ความหมายต่างกันมาก

คนบางคน มาจากสถาบันเดียวกัน แต่นิสัยใจคอต่างกันไกล

เพราะฉะนั้น : ถ้าเชื่อกันแค่ภายนอก ก็ถูกหลอกร่ำไป

#บาลีวันละคำ (787)

14-7-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *