บาลีวันละคำ

จิตรกรรม (บาลีวันละคำ 1,346)

จิตรกรรม

อ่านว่า จิด-ตฺระ-กำ

ประกอบด้วย จิตร + กรรม

(๑) “จิตร

บาลีเป็น “จิตฺต” (จิด-ตะ) คำว่า “จิตฺต” ในบาลีมีความหมายหลายอย่างตามรากศัพท์ต่อไปนี้

1) จิตฺตา (ดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง) + ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อา ที่-ตา (จิตฺตา > จิตฺต) และลบ

: จิตฺตา + = จิตฺตาณ > จิตฺตา > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เดือนที่กำหนดด้วยดาวจิตตา” (คือดาวที่คู่กับดวงจันทร์เต็มดวง) หมายถึง จิตรมาส คือเดือนห้า

2) จิ (ธาตุ = สะสม) + ปัจจัย, ซ้อน ตฺ

: จิ + ตฺ + = จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “สีอันเขาผสมกันไว้” (คือเขียนระบายไว้) หมายถึง สีระบาย, ลวดลาย (2) “สิ่งที่สะสมการสืบต่อของตนไว้” หมายถึง จิต, ใจ อันเป็นที่เก็บสั่งสมบุญบาปไว้

3) จินฺต (ธาตุ = คิด) + ปัจจัย, ลบ นฺ

: จินฺต + = จินฺตต > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ทำหน้าที่คิด” (2) “สิ่งที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์” หมายถึง จิต, ใจ, ความคิด

4) จิตฺต (ความวิจิตรพิสดารต่างๆ) + ปัจจัย, ลบ

: จิตฺต + = จิตฺตณ > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ทำให้วิจิตรไปต่างๆ” หมายถึง จิต, ใจ ซึ่งมีลักษณะคิดเรื่องราวจินตนาการต่างๆ สุดจะบรรยาย

5) จิตฺต (สิ่งที่งดงาม) + ปัจจัย

: จิตฺต + = จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งามวิจิตรเพราะสร้างขึ้นด้วยจิต” หมายถึง จิตรกรรม, ความวิจิตรต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จิตฺต” ไว้ดังนี้ –

(1) the heart (psychologically), i. e. the centre & focus of man’s emotional nature as well as that intellectual element which inheres in & accompanies its manifestations; i. e. thought (หัวใจ [ทางจิตวิทยา] คือศูนย์และจุดรวมของธรรมชาติที่เกี่ยวกับความรู้สึกของมนุษย์ กับส่วนของสติปัญญาซึ่งอยู่ในการแสดงออกเหล่านั้น; กล่าวคือ ความคิด)

(2) variegated, manifold, beautiful; tasty, sweet, spiced (of cakes) (วิจิตร, มีลวดลายหลายหลาก, สวยงาม, อร่อย, หวาน, ใส่เครื่องเทศ [พูดถึงขนม])

(3) painting (ภาพเขียน)

ในที่นี้ “จิตฺต” ใช้ในความหมายตามรากศัพท์ในข้อ 5) ซึ่งตรงกับที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลไว้ว่า painting

อนึ่ง “จิตฺต” ตามความหมายนี้ บาลีใช้ในรูป “จิตฺร” (จิด-ตฺระ) ก็มี

(๒) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กมฺม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

จิตฺต + กมฺม = จิตฺตกมฺม แปลตามศัพท์ว่า “การทำสิ่งที่วิจิตรงดงาม” “การทำซึ่งจิตรกรรม” หมายถึง การเขียนภาพ หรือการตกแต่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้งดงาม

จิตฺตกมฺม ใช้ในภาษาไทยเป็น “จิตรกรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จิตรกรรม : (คำนาม) ศิลปะประเภทหนึ่งในทัศนศิลป์เกี่ยวกับการเขียนภาพวาดภาพ, รูปภาพที่เขียนหรือวาดขึ้น. (ส.).”

ความแตกต่างระหว่างคำว่า “จิตฺตกมฺม” และ “สิปฺป” ในภาษาบาลี :

๑ “จิตฺตกมฺม” ในภาษาบาลีหมายถึงสิ่งที่ในภาษาไทยเรียกว่า “จิตรกรรม” ซึ่งมักใช้ปนๆ ไปกับคำว่า “ศิลปะ” (art)

๒ “ศิลปะ” ตรงกับคำบาลีว่า “สิปฺป” (สิบ-ปะ) แต่ สิปฺป ในบาลีไม่ได้หมายถึง “จิตฺตกมฺม” (fine art) โดยตรง

สิปฺป ในบาลีหมายถึง ความสามารถที่จะกระทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเอาหลักวิชาอย่างใดอย่างหนึ่งมาปฏิบัติการจนเป็นผลสำเร็จได้ เรียกสั้นๆ ว่า ทำได้ ทำเป็น ชั้นที่สุดแม้เอาใบไม้มาเป่ากับปากให้เป็นเสียงเพลง หรือแม้แต่ผิวปากเป็นเพลง ท่านก็เรียกว่า “สิปฺป” ดังนั้น การวาดรูปเป็น ก็นับได้ว่าเป็น “สิปฺป – ศิลปะ” ชนิดหนึ่ง แต่ “สิปฺป – ศิลปะ” ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการวาดรูปหรือการทำงานศิลปะตามความหมายในภาษาไทยเพียงอย่างเดียว

: ฝึกฝีมือ วาดจิตรกรรมได้ดังคิด

: ฝึกจิต วาดชีวิตได้ดังฝัน

————–

(บรรเทาความสงสัยของ Chakkris Uthayophas)

#บาลีวันละคำ (1,346)

5-2-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย