บาลีวันละคำ

ทรัพยากร (บาลีวันละคำ 1,344)

ทรัพยากร

อ่านว่า ซับ-พะ-ยา-กอน

ประกอบด้วย ทรัพย + อากร

(๑) “ทรัพย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทรัพย-, ทรัพย์ : (คำนาม) เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ถือว่ามีค่า อาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).”

พจน.54 บอกว่า “ทรัพย” สันสกฤตเป็น “ทฺรวฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ทฺรวฺย” ไว้ดังนี้ (คำไทยสะกดตามต้นฉบับ) –

(1) (คำนาม) ‘ทรัพย์,’ สมบัติ, พัสดุ, สิ่งของ; มูลธาตุ, อันท่านพึงนับว่ามีอยู่เก้าอย่าง, คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, อากาศ, เวลา, ทิคัมพร, อาตมัน, พุทธิหรือโพธ; ทองเหลือง; เดิมภัณฑ์; เภสัช, ยา; การฉาทาบหรือเจิมจุรณ์; ครั่ง; สรรชรส, ยางไม้; สุรา, เหล้า; ความสุภาพเรียบร้อยหรืออหังการ; wealth, property, substance, thing; elementary substance, nine kinds of which are reckoned, viz. earth, water, fire, air, ether, time, space, soul and intellect; brass; a stake or wager; a drug or medicament; anointing or plastering; lac, the animal dye; gum, resin; spirituous liquor; modesty or propriety;

(2) (คำคุณศัพท์) เหมาะ, งาม, ควร, สม, ชอบ; อันเนื่องจากหรือเป็นสัมพันธินแก่ต้นพฤกษ์; fit, proper, becoming, suitable, right; derived from or relating to a tree.

ทรัพย์ < ทฺรวฺย ตรงกับบาลีว่า “ทพฺพ” (ทับ-พะ)

ทพฺพ รากศัพท์มาจาก ทุ (ธาตุ = รู้, เจริญ; ไป, เป็นไป) + อพฺพ ปัจจัย, แปลง อุ ที่ ทุ เป็น (ทุ > )

: ทุ > + อพฺพ = ทพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้” “ผู้เจริญ” “สิ่งที่เป็นไป” (คือของธรรมดาที่มีทั่วไป)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ทพฺพ” ไว้ดังนี้ –

(1) material, substance, property; something substantial, a worthy object (วัสดุ, สิ่งของ, สมบัติ; ของที่มีแก่นสาร, สิ่งที่มีคุณค่า)

(2) a tree, shrub, wood (ต้นไม้, พุ่มไม้, ไม้)

(3) tree-like, wooden (เหมือนต้นไม้, ทำด้วยไม้)

(4) fit for, able, worthy, good (เหมาะสำหรับ, สามารถ, ทรงคุณค่า, ดี)

(๒) “อากร

บาลีอ่านว่า อา-กะ-ระ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย

: อา + กรฺ + = อากร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำไปทั่วๆ” “ผู้ทำไปข้างหน้า” หมายถึง บ่อ, แหล่งกำเนิดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (a mine)

ทรัพย + อากร = ทรัพยากร แปลตามศัพท์ว่า “บ่อเกิดแห่งทรัพย์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทรัพยากร : (คำนาม) สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์หรือมีค่า.”

พจน.54 เก็บคำที่ขึ้นต้นด้วย “ทรัพยากร-” ไว้อีก 3 คำ คือ –

ทรัพยากรธรณี : (คำนาม) ทรัพย์อันอยู่ใต้แผ่นดิน เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน.

ทรัพยากรธรรมชาติ : (คำนาม) ทรัพย์อันเกิดขึ้นเองหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ.

ทรัพยากรบุคคล : (คำนาม) บุคคลผู้มีคุณค่าที่เป็นทรัพย์ขององค์กร สังคม หรือประเทศ.

ทรัพยากร” เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเทียบคำอังกฤษว่า resource

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล resource เป็นบาลีไว้ดังนี้ –

(1) upāya อุปาย (อุ-ปา-ยะ) = องค์ความรู้เพื่อใช้ปฏิบัติการ

(2) payoga ปโยค (ปะ-โย-คะ) = การประกอบกิจการ

(3) vibhava วิภว (วิ-พะ-วะ) = ทรัพย์สมบัติ

(4) āya อาย (อา-ยะ) = รายได้ รวมถึงวิธีหารายได้

(5) nicitavatthu นิจิตวตฺถุ (นิ-จิ-ตะ-วัด-ถุ) = สิ่งของที่สะสมไว้

(6) nissaya นิสฺสย (นิด-สะ-ยะ) = เครื่องอาศัยใช้สอย

: บัณฑิต ใช้ความมั่งคั่งสร้างสรรค์ทรัพยากรขึ้นไว้ในพระศาสนา

: คนพาล ใช้ทรัพยากรในพระศาสนาเป็นเครื่องมือแสวงหาความมั่งคั่ง

3-2-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย