บาลีวันละคำ

นวโกวาท (บาลีวันละคำ 1,351)

นวโกวาท

อ่านว่า นะ-วะ-โก-วาด

ประกอบด้วย นวก + โอวาท

(๑) “นวก” (นะ-วะ-กะ) ประกอบด้วย นว +

1) “นว” (นะ-วะ) รากศัพท์มาจาก นุ (ธาตุ = ชื่นชม) + ปัจจัย, แผลง อุ ที่ นุ เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (นุ > โน > นว)

: นุ > โน > นว + = นว แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนชื่นชม

นว” ในที่นี้หมายถึง ใหม่ (new) แต่โดยนัยหมายถึง หนุ่ม, ยังไม่มีความชำนาญ, ไม่มีประสบการณ์; สามเณร (young, unexperienced, newly initiated; a novice)

2) นว + (ก อ่านว่า กะ ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ศัพท์สกรรถ” (-สะ-กัด) = คำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม)

: นว + = นวก ความหมายคงเท่ากับ “นว” นั่นเอง แปลว่า ผู้ใหม่ เช่น เพิ่งมาใหม่, เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่

(๒) “โอวาท

บาลีอ่านว่า โอ-วา-ทะ รากศัพท์มาจาก อว (คำอุปสรรค = ลง, ย้ำ) + วทฺ (ธาตุ = กล่าว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อว เป็น โอ, ทีฆะ อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา ด้วยอำนาจ ปัจจัย (วทฺ > วาท)

: อว > โอ + วทฺ = โอวท + = โอวทณ > โอวท > โอวาท แปลตามศัพท์ว่า “การกล่าวตอกย้ำเพื่อให้ระวัง” หมายถึง โอวาท, คำสั่งสอน, การตักเตือน, คำแนะนำ (advice, instruction, admonition, exhortation)

นวก + โอวาท = นวโกวาท อ่านแบบบาลีว่า นะ-วะ-โก-วา-ทะ อ่านแบบไทยว่า นะ-วะ-โก-วาด แปลว่า “คำสั่งสอนสำหรับผู้บวชใหม่

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

นวโกวาท : คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่, คำสอนสำหรับภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่, ชื่อหนังสือแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นวโกวาท : โอวาทเพื่อผู้บวชใหม่. (ป.).”

……….

หนังสือ นวโกวาท มี 3 ส่วน ส่วนต้นเป็น วินัยบัญญัติ หรือศีลของภิกษุ ส่วนกลางเป็น ธรรมวิภาค คือธรรมที่ต้องแยกคัดจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เช่นธรรมที่มี 2 ข้อย่อย รวมไว้หมวดหนึ่ง มี 3 ข้อย่อยรวมไว้หมวดหนึ่งเป็นต้น และส่วนหลังเป็น คิหิปฏิบัติ คือหลักปฏิบัติและหลักควรเว้นสำหรับคฤหัสถ์หรือชาวบ้านทั่วไป เช่น อบายมุข เป็นต้น

กล่าวได้ว่า พระภิกษุสามเณรและผู้ที่ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมตามหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน ไม่มีใครที่ไม่รู้จักหนังสือ นวโกวาท

: จบชั้นไหนๆ ก็ยังเป็นนวกะ

: ถ้ายังไม่รู้จักเอาชนะใจตัวเอง

ภาพประกอบจาก Google

10-2-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย