บาลีวันละคำ

มหากาฬ (บาลีวันละคำ 1,353)

มหากาฬ

อ่านว่า มะ-หา-กาน

ประกอบด้วย มหา + กาฬ

(๑) “มหา” (มะ-หา)

รูปคำเดิมในบาลีเป็น “มหนฺต” (มะ-หัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก มหฺ (ธาตุ = เจริญ) + อนฺต ปัจจัย

: มหฺ + อนฺต = มหนฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายตัว” มีความหมายว่า ยิ่งใหญ่, กว้างขวาง, โต; มาก; สำคัญ, เป็นที่นับถือ (great, extensive, big; much; important, venerable)

มหนฺต” เป็นคำเดียวกับที่ใช้ในภาษาไทยว่า “มหันต์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มหันต-, มหันต์ : (คำวิเศษณ์) ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).”

ในที่นี้ “มหนฺต” เข้าสมาสกับ –กาฬ เปลี่ยนรูปเป็น “มหา

(๒) “กาฬ

บาลีอ่านว่า กา-ละ รากศัพท์มาจาก –

1) กิรฺ (ธาตุ = กระจาย, เรี่ยราย) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อิ ที่ กิ-(รฺ) เป็น อะ แล้วยืดเสียง อะ เป็น อา (กิรฺ > กร > การ), แปลง เป็น

: กิรฺ + = กิรณ > กิร > กร > การ > กาฬ แปลตามศัพท์ว่า “ปักษ์ที่กระจายความสว่างไป” (คือทำให้ความสว่างจางไปหรือหมดไป) หมายถึง กาฬปักษ์ คือข้างแรม

2) กลฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (กลฺ > กาล), แปลง ลฺ เป็น

: กลฺ + = กลณ > กล > กาล > กาฬ แปลตามศัพท์ว่า “สีอันเขานับไว้เป็นส่วนหนึ่งในบรรดาสีทั้งหลาย” หมายถึง สีดำ

3) กา (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย

: กา + = กาฬ แปลตามศัพท์ว่า “คนที่ส่งเสียงหยาบคาย” หมายถึง คนดำ, คนชั้นต่ำ (ตามทัศนะของชาวอารยัน เนื่องจากคนดำมักส่งเสียงเอะอะหยาบคาย)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กาฬ” ไว้ดังนี้ –

(1) dark, black, blueblack, misty, cloudy. (มืด, ดำ, น้ำเงินแกมดำ, มัว, มืดมัว)

(2) the dark as opposed to light, and it is therefore characteristic of all phenomena or beings belonging to the realm of darkness, as the night, the new moon, death, ghosts, etc. (ความมืด ในฐานตรงข้ามกับความสว่าง จึงเป็นลักษณะของปรากฏการณ์หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในขอบเขตของความมืดมน เช่น กลางคืน, พระจันทร์ข้างขึ้นอ่อนๆ, ความตาย, ปิศาจ ฯลฯ)

(3) the morning mist, or darkness preceding light, daybreak, morning. (หมอกตอนเช้า หรือความมืดก่อนจะมีแสงสว่าง, เวลารุ่งแจ้ง, ตอนเช้า)

มหา + กาฬ = มหากาฬ แปลตามศัพท์ว่า “ดำมาก” หรือ “มืดมาก” มีความหมายโดยนัยว่า หม่นหมอง, ทุกข์ยาก, เดือดร้อน

มหากาฬ” ในความหมายที่ใช้พูดกันหมายถึง ดุร้ายใจดำ เหี้ยมโหด ไร้ความเมตตาปรานี หนักไปในทางมุทะลุดุเดือด กล้าบ้าบิ่น บุกตะลุยไม่เกรงกลัวภัยอันตราย น้ำใจอึดแกร่งกล้าถึงหยาบกระด้าง

พจน.54 เก็บคำว่า “มหากาฬ” ไว้ 2 คำ เป็นชื่อยาไทยและชื่อไม้ล้มลุก แต่ไม่มีคำที่มีความหมายดังกล่าวข้างต้น

: ตัวดำไม่เป็นไร

: ระวังใจอย่าให้ดำ

12-2-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย