บาลีวันละคำ

สัมพัทธภาพ (บาลีวันละคำ 1,354)

สัมพัทธภาพ

อ่านว่า สำ-พัด-ทะ-พาบ

ประกอบด้วย สัมพัทธ + ภาพ

(๑) “สัมพัทธ

บาลีเขียน “สมฺพทฺธ” อ่านว่า สำ-พัด-ทะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) พธฺ (ธาตุ = ผูก, มัด, พัน) + ปัจจัย, แปลง เป็น ทฺธ, ลบที่สุดธาตุ

: แปลง เป็น ทฺธ : พธฺ + = พธฺต > พธทฺธ

: ลบที่สุดธาตุ : พธทฺธ > พทฺธ

อีกนัยหนึ่ง “พทฺธ” รากศัพท์มาจาก พนฺธฺ (ธาตุ = ผูก, มัด, พัน) + ปัจจัย, ลบ (พนฺธ > พธฺ), แปลง กับที่สุดธาตุเป็น ทฺธ,( + = ทฺธ)

: พนฺธ > พธฺ + = พธต > พทฺธ

พทฺธ” แปลตามศัพท์ว่า “อันเขาผูกแล้ว” เป็นคำกริยาและเป็นคุณศัพท์ ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ผูก (bound), อยู่ในความผูกพัน (bound, in bondage)

(2) ติดบ่วง, ถูกกับดัก (snared, trapped)

(3) ทำให้มั่นคง, ตั้งหลักแหล่ง, ผูก, รัด, ผูกพันให้อยู่กับที่ (made firm, settled, fastened, bound to a cert. place)

(4) ตกลงกัน, ได้มา (contracted, acquired)

(5) ผูก, ติดหรือแนบ (bound to, addicted or attached to)

(6) เอามารวมกัน, นวดหรือคลุก, ทำเป็นก้อน (put together, kneaded, made into cakes [of meal])

(7) มัดเข้าด้วยกัน, ต่อโยงกัน, รวมกันเป็นกลุ่ม (bound together, linked, clustered)

(8) กำหนด, ตกลง (set, made up [of the mind])

สํ + พทฺธ แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ : สํ > สมฺ + พทฺธ = สมฺพทฺธ แปลตามศัพท์ว่า “ผูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน” (ความหมายไม่ต่างไปจาก พทฺธ) เขียนแบบไทยเป็น “สัมพัทธ

โปรดสังเกตว่า “สัมพัทธ” เป็นคนละคำกับ “สัมพันธ

ในภาษาบาลี “สมฺพทฺธสัมพัทธ” ใช้เป็นคำกริยาและเป็นคุณศัพท์

สมฺพนฺธสัมพันธ” เป็นคำนาม

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ :

แปล “สมฺพทฺธ” ว่า bound together (ผูกไว้ด้วยกัน)

แปล “สมฺพนฺธ” ว่า connection, tie (การเกี่ยวเนื่อง, ความสัมพันธ์, การผูกพัน)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

สมฺพทฺธ : (คำคุณศัพท์) ‘สัมพัทธ,’ อันมี; อันผูกแล้ว; endowed with; tied.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สัมพัทธ์ : (คำวิเศษณ์) ที่เปรียบเทียบกัน เช่น ความเร็วสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์. (ป., ส.).”

(๒) “ภาพ

รูปคำเหมือนจะมาจาก “ภาว” (พา-วะ) ในบาลี

ภาว” รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภาว” ไว้ดังนี้ –

(1) being, becoming, condition, nature (ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ)

(2) cultivation or production by thought, mental condition (การปลูกฝัง หรือการผลิตผลด้วยความคิด, ภาวะทางใจ)

ความหมายของ “ภาว” ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

ภาว-, ภาวะ : (คำนาม) ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).”

ภาว แปลง เป็น = ภาพ

ความหมายของ “ภาพ” ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

(1) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย.

(2) รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน.

(3) สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย.

ในที่นี้ “ภาพ” ใช้ในความหมายตามข้อ (1)

สัมพัทธ + ภาพ = สัมพัทธภาพ แปลว่า “ภาวะที่สิ่งหนึ่งถูกผูกโยงเข้าไว้ด้วยกันกับอีกสิ่งหนึ่ง

สัมพัทธภาพ” เป็นศัพท์ที่บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า relativity

พจนานุกรม สอ เสถบุตร บอกไว้ที่คำว่า Einstein ดังนี้ –

Einstein : ไอน-สไทน 1879-1955 นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้คิด Einstein’s theory of relativity หรือทฤษฎีสัมพัทธภาพ กล่าวคือ ความเร็วก็เหมือนกระแสน้ำกลางทะเล จะรู้ได้โดยเปรียบเทียบกันเท่านั้น และขนาดของวัตถุย่อมสุดแต่ความเร็วของมัน.”

: กี่ร้อยทฤษฎีก็ไม่มีความหมาย

: ถ้ามนุษย์ทั้งหลายไม่มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

————-

(เพื่อสัมพัทธภาพและสัมพันธภาพที่ดีกับ Chakkris Uthayophas)

13-2-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย