บาลีวันละคำ

นพเคราะห์ (บาลีวันละคำ 1,377)

นพเคราะห์

อ่านว่า นบ-พะ-เคฺราะ

ประกอบด้วย นพ + เคราะห์

(๑) “นพ” บาลีเป็น “นว” (นะ-วะ)

นว” ในบาลีมีคำแปล 2 อย่าง คือ –

(1) ใหม่, สด, ยังไม่ช้ำหรือเสื่อมเสีย, สะอาด, เร็วๆ นี้, ที่ได้มาหรือปฏิบัติเมื่อเร็วๆ นี้เอง (new, fresh; unsoiled, clean; of late, lately acquired or practised), หนุ่ม, ยังไม่มีความชำนาญ, ไม่มีประสบการณ์ (young, unexperienced, newly initiated)

(2) เก้า (จำนวน 9)

ผู้จัดทำพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ เสนอทฤษฎีว่า “นว” ที่แปลว่า “จำนวนเก้า” ก็น่าจะมาจาก “นว” ที่ว่า “ใหม่” นั่นเอง เพราะในการนับจำนวนทีละ 4 (จำนวนแปด = 8 เป็นจำนวนคู่) ลำดับใหม่เริ่มขึ้นด้วยเลข 9 [Connection with nava2 likely because in counting by tetrads (octo=8 is a dual!) a new series begins with No. 9]

นว” จะหมายถึง “ใหม่” หรือ “เก้า” ต้องดูที่บริบท ในภาษาไทยมักใช้เป็นคําหน้าสมาส

(๒) “เคราะห์

บาลีเป็น “คห” (คะ-หะ) รากศัพท์มาจาก คหฺ (ธาตุ = จับ, ยึด, ถือเอา) + ปัจจัย

: คหฺ + = คห แปลตามศัพท์ว่า “ผู้จับ” แปลทับศัพท์ว่า “เคราะห์

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลและไขความคำว่า “คห” ไว้ว่า –

คห : “seizer”, seizing, grasping, a demon, any being or object having a hold upon man. – “ผู้จับ”, การจับ, การคว้า, เป็นคำใช้แทนสิ่งของหรือวัตถุที่คนต้องตกอยู่ใต้บังคับ.

คห” สันสกฤตเป็น “คฺรห

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

คฺรห : (คำนาม) การถือเอา, การจับ, การรับ; สูรยคราสหรือจันทรคราส; ดาวพระเคราะห์; พระเคราะห์; นามของราหุหรืออุทัสบาต; อุตสาหะในการรบ; เพียร; การย์, เหตุ, อรรถ, ความคิด, ความตั้งใจ; อุปการะ; อนุกูล; taking, seizure, acceptance; an eclipse or seizure of the sun or moon b Rāhu; a planet; the place of a planet in the fixed zodiac; a movable point in the heavens; a name of Rāhu, or ascending node; effort in battle; perseverance; purpose, design, intention, favour, patronage.”

คห > คฺรห ใช้ในภาษาไทยว่า “เคราะห์

เคราะห์” ในที่นี้เป็นคำที่ใช้ในโหราศาสตร์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่ามีเทวดาประจําแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน.

(2) สิ่งที่นําผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มักนิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์. (ป. คห; ส. คฺรห ว่า ยึด).

คนส่วนมากนึกถึงคำว่า “เคราะห์” ตามความหมายในข้อ (2) และมักเชื่อว่าเคราะห์ดีเคราะห์ร้ายเกิดจากอำนาจลึกลับเป็นผู้กระทำ หรือดวงดาวบันดาล จึงมีผู้คิดวิธีแก้เคราะห์ต่างๆ ส่วนใหญ่แก้ที่เหตุภายนอก

ตามหลักภาษาบาลี นว + คห ซ้อน คฺ : นว + คฺ + คห = นวคฺคห (นะ-วัก-คะ-หะ)

กระบวนการกลายรูป :

นว แผลง เป็น ตามหลักนิยมในภาษาไทย : นว > นพ

คห แผลงรูปอิงสันสกฤต : คห > คฺรห > เคราะห์

นว > นพ + คห > เคราะห์ = นพเคราะห์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นพเคราะห์ : (คำที่ใช้ในโหราศาสตร์) (คำนาม) ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ.”

: ถ้ามีปัญญาและศรัทธาเต็มหัวใจ

: เพียงพระรัตนตรัยก็เป็นที่พึ่งอันเกษม

7-3-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย