บาลีวันละคำ

ชาคริต จักรกฤษณ์ (บาลีวันละคำ 1,378)

ชาคริต < Chakkrit > จักรกฤษณ์

ถอดเป็นชื่อไทยคำไหนกันแน่

เจ้าของชื่อสะกดชื่อเป็นอักษรโรมันว่า Chakkrit

ฝรั่งออกเสียงว่า ชาก-คริด

คนไทยที่ได้ยินฝรั่งออกเสียงเช่นนั้น จึงเรียกเจ้าของชื่อว่า คุณชาคริต

เจ้าของชื่อบอกว่า เขาชื่อ “จักรกฤษณ์

ชาคริตจักรกฤษณ์ มีความหมายว่าอย่างไร

(๑) “ชาคริต

บาลีอ่านว่า ชา-คะ-ริ-ตะ รากศัพท์มาจาก ชาครฺ (ธาตุ = สิ้นความหลับ) + อิ อาคม + ปัจจัย

: ชาครฺ + อิ + = ชาคริต แปลตามศัพท์ว่า “สิ้นความหลับแล้ว” หมายถึง ตื่นแล้ว, ตื่นตัว, ไม่หลงหลับไหล

(๒) “จักรกฤษณ์

ประกอบด้วย จักร + กฤษณ์

(๑) “จักร” บาลีเป็น “จกฺก” (จัก-กะ) รากศัพท์มาจาก –

1) (แทนศัพท์ว่า “คมน” = การไป) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) กฺวิ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ, ซ้อน กฺ

: + กฺ + กรฺ = จกฺกรฺ + กฺวิ = จกฺกรกฺวิ > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องทำให้เคลื่อนไปได้” = ล้อรถ

2) จกฺกฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย

: จกฺกฺ + = จกฺก แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เบียดเบียน คือบดแผ่นดิน” = ล้อรถ (2) “วัตถุเป็นเครื่องเบียดเบียน” = กงจักร, วงจักร

3) กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, แผลง ที่ -(รฺ) เป็น กฺก (กรฺ > กกรฺ) (ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ทเวภาวะ” = การทำให้เป็นสอง) แล้วแปลง ตัวหน้าเป็น , แปลง ตัวหลังเป็น กฺก, ลบที่สุดธาตุ

: กรฺ + = กร > กกฺร > จกฺร > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหตุให้ทำการยึดครองได้” = กองทัพ, กองพล

(๒) “กฤษณ์

บาลีเป็น “กณฺห” (กัน-หะ) รากศัพท์มาจาก –

1) กณฺห (ดำ) + ปัจจัย, ลบ

: กณฺห + = กณฺหณ > กณฺห แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีคุณดำ” (คือมีความเสื่อมเสีย)

2) กุ (ธาตุ = รังเกียจ) + ณฺห ปัจจัย, แปลง อุ ที่ กุ เป็น (กุ > )

: กุ + ณฺห = กุณฺห > กณฺห แปลตามศัพท์ว่า “เทพผู้น่ารังเกียจ

3) (แทนศัพท์ว่า “สุข” = ความสุข) + หนฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, กลับ หนฺ เป็น นหฺ, แปลง นฺ เป็น ณฺ

: + หนฺ = กหนฺ + = กหน > กนฺห > กณฺห แปลตามศัพท์ว่า “เทพผู้เบียดเบียนความสุข

กณฺห สันสกฤตเป็น “กฤษฺณ” เป็นชื่อเทพในคติพราหมณ์ฮินดู มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น พระนารายณ์, พระวิษณุ, พระกฤษณะ, ขันธกุมาร

การที่ชื่อเทพองค์นี้ตามนัยบาลีมีความหมายในทางไม่สู้จะดี น่าจะต้องศึกษาประวัติความเป็นมากันต่อไป

จักร + กฤษณ = จักรกฤษณ > จักรกฤษณ์ อาจแปลว่า จักรของพระกฤษณะ ก็ได้ แปลว่า พระกฤษณะผู้มีจักร ก็ได้

: หลับอยู่ด้วยความเขลา

: มีโทษเบากว่าตื่นขึ้นมาทำความชั่ว

———–

(โดยได้รับอนุญาตจาก Chakkrit Rachain Maneewan)

8-3-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย