บาลีวันละคำ

ปาปมุต (บาลีวันละคำ 1,800)

ปาปมุต

อ่านว่า ปา-ปะ-มุด

แยกศัพท์เป็น ปาป + มุต

(๑) “ปาป” (ปา-ปะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย, ลง อาคม

: ปา + + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมเป็นแดนรักษาตนแห่งเหล่าคนดี” (คือคนดีจะป้องกันตนโดยออกห่างแดนชนิดนี้)

(2) ปา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปา + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่รักษาอบายภูมิไว้” (คือเพราะมีคนทำกรรมชนิดนี้ อบายภูมิจึงยังคงมีอยู่)

(3) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า) + อปฺ (ธาตุ = ให้ถึง) + ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ -(ป) (อปฺ > อาป)

: + อปฺ = ปปฺ + = ปป > ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ยังผู้ทำให้ถึงทุคติ

(4) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า) + เป (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , ลบ เอ ที่ เป (เป > ), ทีฆะ อะ ที่ อุปสรรคเป็น อา

: + เป = ปเป + = ปเปณ > ปเป > ปป > ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมเป็นเหตุไปสู่อบาย

ปาป” ในบาลีมีความหมายดังนี้ –

(1) ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง ความชั่ว, ความเลวร้าย, การทำผิด, (evil, sin, wrong doing)

(2) ถ้าเป็นคุณศัพท์ หมายถึง เลวร้าย, เป็นอกุศล, ชั่ว, เลวทราม, บาป (evil, bad, wicked, sinful)

ปาป” ในภาษาไทยใช้ว่า “บาป” (ปา– เป็น บา-) อ่านว่า บาบ ถ้ามีคำอื่นมาสมาส อ่านว่า บาบ-ปะ-

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บาป, บาป– : (คำนาม) การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามในศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. (คำวิเศษณ์) ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).”

ในที่นี้ใช้คงรูปเป็น “ปาป

(๒) “มุต

บาลีเป็น “มุตฺต” (มุด-ตะ) รากศัพท์มาจาก มุจฺ (ธาตุ = พ้น, ปล่อย, เปลื้อง) + ปัจจัย, แปลง จฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ตฺต

: มุจฺ + = มุจต > มุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “พ้นแล้ว

มุตฺต” ในบาลีเป็นคำกริยาและใช้เป็นคุณศัพท์ได้ด้วย มีความหมายดังนี้ –

(1) ปลด, ปล่อย, ให้เป็นอิสระ (released, set free, freed)

(2) ยกเลิกหรือเลิกล้ม, ปล่อยออกมา, อุทิศ, พลี (given up or out, emitted, sacrificed)

(3) มิได้จัดระบบ, ไม่มีระบบ (unsystematised)

ปาป + มุตฺต = ปาปมุตฺต (ปา-ปะ-มุด-ตะ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้พ้นแล้วจากบาป

ปาปมุตฺต” ภาษาไทยตัด ออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “ปาปมุต” (ปา-ปะ-มุด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปาปมุต : (คำวิเศษณ์) ไม่มีใครถือโทษ.”

…………..

อภิปราย :

โดยสภาวธรรมแล้ว ผู้ทำบาปย่อมต้องได้รับผลของบาปเสมอไป แต่พระอรหันต์สิ้นกิเลสทั้งปวงแล้ว การกระทำของท่านไม่เป็นบุญเป็นบาป หมายความว่าการกระทำในขณะที่เป็นพระอรหันต์นั้นไม่มีผลดีผลชั่วต่อตัวท่านเองแต่ประการใด พระอรหันต์จึงอยู่ในฐานะเป็น “ปาปมุต” ในความหมายที่ว่าพ้นจากบาป

ในภาษาไทยมีคำกล่าวกันว่า “อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา” เพราะคนสองจำพวกนี้ย่อมกระทำการโดยขาดสติ คือไม่มีเจตนาจะทำให้เกิดผลดีผลร้ายต่อใคร คนบ้ากับคนเมาก็อยู่ในฐานะเป็น “ปาปมุต” ได้เช่นกัน

พระอรหันต์ทำพูดคิดอย่างมีสติที่ไพบูลย์ ส่วนคนบ้ากับคนเมานั้นทำพูดคิดอย่างไร้สติ นี่เป็นความต่างกันสุดขั้วระหว่างพระอรหันต์กับคนบ้าคนเมา

แม้พระอรหันต์จะเป็น “ปาปมุต” ไม่ต้องรับผลกรรมที่ทำระหว่างเป็นพระอรหันต์อีกแล้วก็จริง แต่ก็ยังต้องรับผลกรรมในอดีตอยู่นั่นเอง เช่น –

พระสีวลีเป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังมีลาภเกิดขึ้นเหลือเฟืออันเป็นผลจากการบริจาคทานในอดีตชาติ

พระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังถูกผู้ร้ายประทุษร้ายจนดับขันธ์อันเป็นผลจากการประทุษร้ายบิดามารดาในอดีตชาติ เป็นต้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

พึงสดับ :

น  อนฺตลิกฺเข  น  สมุทฺทมชฺเฌ

น  ปพฺพตานํ  วิวรํ  ปวิสฺส

น  วิชฺชเต  โส  ชคติปฺปเทโส

ยตฺรฏฺฐิโต  มุจฺเจยฺย  ปาปกมฺมา.

(ปาปวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 19)

หนีไปกลางอากาศ

ปลาตไปอยู่กลางสมุทร

มุดเข้าไปใต้ภูเขาเข้าถ้ำ

สถานที่อันจะหนีพ้นบาปกรรมนั้นบมิได้มีเลย

13-5-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *