บาลีวันละคำ

สุริยุปราคา (บาลีวันละคำ 1,379)

สุริยุปราคา

อ่านว่า สุ-ริ-ยุ-ปะ-รา-คา ก็ได้ สุ-ริ-ยุบ-ปะ-รา-คา ก็ได้

ประกอบด้วย สุริย + อุปราคา

(๑) “สุริย

บาลีอ่านว่า สุ-ริ-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สุร (ความกล้า) + อิย ปัจจัย

: สุร + อิย = สุริย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยังความกล้าให้เกิดขึ้นแก่ชาวโลก

(2) สุ (ธาตุ = เบียดเบียน) + อิส ปัจจัย, ลง อาคมระหว่าง สุ + อิส (สุ + + อิส), แปลง ที่ อิส เป็น (อิส > อิย)

: สุ + + อิส = สุริส > สุริย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียนความกลัวของสัตวโลกด้วยการกำจัดความมืด

(3) สรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง สรฺ เป็น สุริ

: สรฺ + = สรย > สุริย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่โคจรเรื่อยไป

สุริย” หมายถึง ดวงอาทิตย์ (the sun) ซึ่งนิยมทับศัพท์ว่า สุริยะ, สุริยา, สูรย์ ภาษาไทยใช้ว่า ตะวัน

(๒) “อุปราคา

บาลีเป็น “อุปราคา” (อุ-ปะ-รา-คา) ประกอบด้วย อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ราคา

ราคา” รากศัพท์มาจาก รญฺชฺ (ธาตุ = ย้อม, กำหนัด, ยินดี) + ปัจจัย, ลบ , ลบ ญฺ ที่ รญฺชฺ (รญฺชฺ > รชฺ), แปลง เป็น , ยืดเสียง อะ ที่ -(ชฺ) เป็น อา (รชฺ > ราช) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รญฺช > รช > ราช > ราค + อา = ราคา แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องย้อมสี” “ภาวะเป็นเหตุให้กำหนัด

ราค > ราคา หมายถึง (1) สี, ย้อมสี, การทำให้เป็นสี (colour, hue; colouring, dye) (2) ความกำหนัด, ตัณหา (excitement, passion)

อุป + ราคา = อุปราคา แปลตามศัพท์ว่า “เข้าไปย้อม” “เข้าไปทำให้กำหนัด” แปลแบบลากเข้าความว่า “เข้าไปเปลี่ยนสี

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “อุปราค” บอกไว้ว่า –

อุปราค : (คำนาม) สูรย์ หรือ จันทร์; ราหู; ทุกข์; ความประพฤติผิด; มรรยาทที่ไม่งาม; ความครหา; an eclipse of the sun or moon; Rāhu or the ascending node; affliction, calamity; misbehaviour, improper conduct; reproach.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุปราคา : (คำนาม) การทําให้ดํา, การทําให้มีมลทิน, ในคําว่า จันทรุปราคา สุริยุปราคา.”

สุริย + อุปราคา = สุริยุปราคา แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปย้อมสีดวงอาทิตย์” “การเข้าไปทำให้ดวงอาทิตย์มีมลทิน

พจน.54 บอกไว้ว่า –

สุริยุปราคา : (คำนาม) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ดวงจันทร์จึงบังแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก เป็นเหตุให้เห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด, (ปาก) สุริยคราส หรือ สูรยคราส.”

9 มีนาคม 2559 มีสุริยุปราคา มองเห็นได้ในประเทศไทย

ดูก่อนภราดา !

: สุริยุปราคาทำให้ตะวันมืดเพียงชั่วขณะ

: ดังฤๅจะยอมให้โมหะทำให้ใจมืดไปชั่วกาลนาน

9-3-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย