บาลีวันละคำ

คฤหาสน์ (บาลีวันละคำ 1,380)

คฤหาสน์

อ่านว่า คะ-รึ-หาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

คฤหาสน์ : (คำนาม) เรือน, โดยมากหมายถึงเรือนขนาดใหญ่และสง่าผ่าเผย. (ส. คฺฤหาสน).”

พจน.54 บอกว่า คำนี้สันสกฤตเป็น “คฺฤหาสน

ถ้าเทียบตามบาลีก็ควรจะมาจาก คฺฤห + อาสน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(1) คฤห : (คำนาม) เรือน, บ้าน; ภริยา, ภารยา, วธู, เมีย; นาม; a house, a mansion; a wife; an appellation, name.

(2) อาสน : (คำนาม) ที่นั่ง, ม้า, เก้าอี้; a seat, a stool, a chair.

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน ไม่มีคำว่า “คฺฤหาสน

อนึ่ง พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล “คฤหาสน์” เป็นอังกฤษว่า a house; a mansion, a manor, a country seat โปรดเปรียบเทียบกับคำแปลของ สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน

คฤหาสน์” เทียบบาลีเป็น “คหาสน” (คะ-หา-สะ-นะ) ประกอบด้วย คห + อาสน

(๑) “คห” รากศัพท์มาจาก คหฺ (ธาตุ = จับ, ยึด, ถือเอา) + ปัจจัย

: คหฺ + = คห แปลตามศัพท์ว่า “ที่เก็บทรัพย์อันคนนำมาแล้ว” (คนหาทรัพย์มาเก็บไว้ที่นั่น จึงเรียกที่นั่นว่า คห = ที่เก็บทรัพย์) หมายถึง บ้าน (a house)

ศัพท์ที่ใกล้กันอีกคำหนึ่งคือ “เคห” (เค-หะ) รากศัพท์เหมือนกับ “คห” เพียงแต่แปลง อะ ที่ -(ห) เป็น เอ : คห > เคห

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เคห” ว่า a dwelling, hut, house; the household (ที่อยู่อาศัย, กระท่อม, บ้าน; ครัวเรือน)

(๒) “อาสน” (อา-สะ-นะ) รากศัพท์มาจาก :

(1) อาสฺ (ธาตุ = นั่ง), ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: อาสฺ + ยุ > อน = อาสน แปลตามศัพท์ว่า “การนั่ง” “ที่นั่ง

(2) อาสฺ (ธาตุ = นั่ง), ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: อาสฺ + ยุ > อน = อาสน แปลตามศัพท์ว่า “การนั่ง”

(3) อาสฺ (ธาตุ = ตั้งไว้), ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: อาสฺ + ยุ > อน = อาสน แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตั้ง

(4) อา (แทนศัพท์ “อาคนฺตฺวา” = มาแล้ว) + สิ (ธาตุ = นอน), ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ลบ อิ ที่ สิ (สิ > , ภาษาไวยากรณ์ว่า “ลบสระหน้า”)

: อา + สิ > + ยุ > อน = อาสน แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มานอน” (คือแท่นหรือเตียงนอน)

อาสน” หมายถึง การนั่ง, การนั่งลง, ที่นั่ง, บัลลังก์ (sitting, sitting down; a seat, throne)

คห + อาสน = คหาสน > คฺฤหาสน > คฤหาสน์ แปลตามศัพท์ว่า “บ้านอันเป็นที่นั่ง” “ที่นั่งนอนคือบ้าน

ในคัมภีร์ไม่พบคำว่า “คหาสน” หรือ “เคหาสน

เป็นอันว่า “คฤหาสน์” น่าจะเป็นคำที่ไทยเราคิดขึ้นเองและให้ความหมายเองด้วยภูมิปัญญาไทย

: กระท่อมที่สร้างด้วยเงินบริสุทธิ์สะอาด

: ยิ่งใหญ่กว่าคฤหาสน์ที่สร้างด้วยเงินทุจริตโกงกิน

10-3-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย