บาลีวันละคำ

อีศาน อิสาน อีสาน (บาลีวันละคำ 1,374)

อีศาน อิสาน อีสาน

เขียนอย่างไรกันแน่

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อีสาน ๑     : (คำนาม) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ. (ป. อีสาน; ส. อีศาน).

(2) อีสาน ๒ : (คำนาม) พระศิวะหรือพระรุทระ.

พจน.54 บอกว่า “อีสาน” ที่หมายถึง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บาลีเป็น “อีสาน

ในคัมภีร์บาลีมีคำว่า “อีสาน” (อี-สา-นะ) เป็นชื่อของเทวราชองค์หนึ่งในหมู่หัวหน้าเทพผู้คุมทัพของพระอินทร์ แต่ยังไม่พบคำว่า “อีสาน” ที่หมายถึง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

คำว่า “อีสาน” รูปศัพท์ใกล้กับคำว่า “อีสา” แปลกันว่า งอนไถ

อีสา” รากศัพท์มาจาก อีสฺ (ธาตุ = เป็นใหญ่, โดดเด่น) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: อีสฺ + = อีส + อา = อีสา แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่เป็นใหญ่ในการไถ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อีสา” ว่า the pole of a plough or of a carriage (งอนไถหรืองอนรถ)

ถ้า “อีสาน” (อี-สา-นะ) มาจาก “อีสา” ก็คือ อีสา + ปัจจัย

: อีสา + = อีสาน แปลตามศัพท์ว่า “มีความโดดเด่นประดุจงอนรถ

หมายเหตุ :

ขณะที่เขียนบาลีวันละคำวันนี้ยังไม่พบตำราไวยากรณ์บาลีที่อธิบายรากศัพท์ของคำว่า “อีสาน

ในสันสกฤตมีคำว่า “อีศาน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อีศาน : (คำนาม) นามพระศิวะ, ผู้เทพดาประจำทิศตวันออกเฉียงเหนือ; อาทิตย์อันเปนรูปของพระศิวะ; ต้นนุ่น; แสงสว่าง; ความงาม; name of Śiva, the regent of the north-east quarter; the sun as a form of Śiva; the silk-cotton tree; light; splendour.”

คำว่า “อีสาน” ในบาลีที่เป็นชื่อของเทวราชองค์หนึ่งน่าจะยืมคำและความหมายไปจาก “อีศาน” ของสันสกฤตนั่นเอง แล้วเลยพลอยใช้ในความหมายว่า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปด้วย

ชื่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือเคยเขียนเป็น “อีศาน” เพราะเขียนตามสันสกฤต

เคยมีผู้เขียนเป็น “อิสาน” (สระ อิ) เพราะลดเสียง อี เป็น อิ ทำนองเดียวกับคำว่า กีฬา มีผู้เขียนเป็น กิฬา ปีติ มีผู้เขียนเป็น ปิติ เป็นต้น

ปัจจุบันกำหนดให้เขียนเป็น “อีสาน” ตามบาลี หากจะสะกดเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่าเป็นคำที่ใช้เฉพาะกรณี

…….

๏ “อีสาน” เป็นคำสูง…..เป็นคำจูงให้ปลื้มใจ

หมายทิพย์คือเทพไท…มิใช่ถ่อยสถุลชน

๏ เชื้อลาวใช่คนไร้……..คือคนไทยผู้คงทน

โง่ เจ็บ หรือยากจน…….อย่ามองข้าม-คืองามใจ

————-

(ตามข้อสงสัยของ Zamar Sib Oon‎)

4-3-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย