บาลีวันละคำ

อนิจกรรม – อสัญกรรม (บาลีวันละคำ 1,423)

อนิจกรรม – อสัญกรรม

อ่านว่า อะ-นิด-จะ-กำ / อะ-สัน-ยะ-กำ

(๑) “อนิจกรรม” ประกอบด้วย อนิจ + กรรม

อนิจ” บาลีเป็น “อนิจฺจ” (อะ-นิด-จะ) รากศัพท์มาจาก (ไม่, ไม่ใช่) + นิจฺจ

นิจฺจ” (นิด-จะ) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สิ่งที่ไม่เป็นไปตามสภาพ” คือ “ตามสภาพ” แล้ว สิ่งทั้งหลายจะต้องไม่คงทนยั่งยืน สิ่งใดเป็น “นิจฺจ” ก็หมายความสิ่งนั้น “ไม่เป็นไปตามสภาพ

(2) “สิ่งที่ไม่ถึงความพินาศ” คือไม่เปลี่ยนไปจากสภาพเดิม ถ้าเปลี่ยน ก็คือสภาพเดิม “พินาศ” ไป

(3) “สิ่งที่นำไปสู่ความเที่ยง” ความเที่ยงอยู่ที่ไหน ก็นำไปสู่ที่นั่น ดังนั้น ที่นั่นจึงเรียกว่า “นิจฺจ

นิจฺจ” มีความหมายว่า เสมอไป, สมํ่าเสมอ, ต่อเนื่องกันไป, ถาวร (constant, continuous, permanent)

+ นิจฺจ แปลง “” (นะ) เป็น “” (อะ) ตามสูตรที่ว่า ถ้าคำที่ ไปสมาสด้วยขึ้นด้วยสระ ให้แปลง เป็น “อน” (อะ-นะ) ถ้าขึ้นด้วยด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น ในที่นี้ “นิจฺจ” ขึ้นต้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น

: + นิจฺจ = นนิจฺจ > อนิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “ไม่เที่ยง” หมายถึง ไม่ถาวร, ไม่คงที่ (unstable, impermanent, inconstant) ความไม่ยั่งยืน, ความไม่คงทน, ความไม่ถาวร (evanescence, inconstancy, impermanence)

(๒) “อสัญกรรม” ประกอบด้วย อสัญ + กรรม

อสัญ” บาลีเป็น “อสญฺญ” (อะ-สัน-ยะ) รากศัพท์มาจาก (ไม่, ไม่ใช่) + สญฺญา

สญฺญา” (สัน-ยา) ในบาลีมีความหมายหลายอย่าง กล่าวคือ –

(1) สัญญา, ความรู้สึก, ความรับรู้, ขันธ์ที่ 3 ในขันธ์ 5 (sense, consciousness, perception)

(2) สัญชาน, ความสังเกตจดจำ, ความสุขุม, ความหมายรู้, การจำได้, ความตระหนัก (sense, perception, discernment, recognition, assimilation of sensations, awareness)

(3) ความรู้สึก (ที่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้ เช่นความสังเกตจดจำของเด็กต่างจาก (ก) ของผู้ใหญ่ และ (ข) ของผู้เชี่ยวชาญ) (consciousness)

(4) แนวความคิด, ความคิด, ความเข้าใจ (conception, idea, notion)

(5) สัญญาณ, กิริยาท่าทาง, เครื่องแสดง, เครื่องหมาย (sign, gesture, token, mark)

(6) ความประทับใจที่เกิดจากความรู้สึกและการจำได้, ความรู้สึกว่ามีบางสิ่งที่เหมือนกัน (เช่นเห็นคนหนึ่งแล้วนึกถึงอีกคนหนึ่ง) (sense impression and recognition)

+ สญฺญา ใช้กฎเดียวกันกับ “อนิจฺจ

: + สญฺญา = นสญฺญา > อสญฺญา ใช้เป็นคุณศัพท์ได้รูปเป็น “อสญฺญ” แปลว่า ไม่รู้สึกตัว, ปราศจากความรู้สึก (unconscious) ถ้าควบกับคำว่า “-สตฺตา” เป็น “อสญฺญสตฺตา” หรือ “อสญฺญีสตฺตา” เป็นชื่อของพรหมจำพวกหนึ่ง มีรูป แต่ไม่มีนาม คนเก่าเรียกกันว่า “พรหมลูกฟัก

ในภาษาไทยมีคำว่า “ถึงแก่อสัญกรรม” หมายถึงตาย ใช้กับบุคคลบางระดับ

อาจเป็นเพราะเรายกว่าความตายของบุคคลบางระดับไม่ใช่ตาย แต่เป็นเพียง “หมดความรู้สึก” หรือให้เกียรติว่าผู้ตายมีคุณธรรมที่สมควรจะไปเกิดเป็นพรหม จึงใช้คำว่า “อสัญญะ

(๓) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กรรม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย –

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

อนิจฺจ + กมฺม = อนิจฺจกมฺม ตัดตัวสะกดของคำหน้าออกตัวหนึ่ง : อนิจฺจ > อนิจ = อนิจกรรม

อสญฺญ + กมฺม = อสญฺญกมฺม ตัดตัวสะกดของคำหน้าออกตัวหนึ่ง : อสญฺญ > อสัญ = อสัญกรรม

อนิจกรรม – อสัญกรรม เราเอาคำบาลีสันสกฤตมาผูกขึ้นใช้ในภาษาไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อนิจกรรม : (คำนาม) ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.

(2) อสัญกรรม : (คำนาม) ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.

ลองภูมิ :

นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ถึงแก่…กรรม เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2559

สื่อมวลชนบางสำนักใช้ว่า “ถึงแก่อนิจกรรม”

บางสำนักใช้ว่า “ถึงแก่อสัญกรรม”

ใช้คำไหนถูก?

: จะ อสัญ- หรือ อนิจ- แล้วแต่ราชบัณฑิตท่านจะกำหนดให้ใช้

: แต่ตายแล้วจะไปไหน ไม่ต้องให้ราชบัณฑิต เพราะเรามีสิทธิ์กำหนดเอง

————–

(ตามคำรบกวนของ นายจินตพงศ์ จรดล)

24-4-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย