บาลีวันละคำ

โคบาล (บาลีวันละคำ 1,425)

โคบาล

อ่านว่า โค-บาน

ประกอบด้วย โค + บาล

(๑) “โค

รากศัพท์มาจาก คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง คมฺ เป็น โค

: คมฺ + = คม > โค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ที่เป็นที่เป็นไปแห่งสัตวโลกทั้งหลาย” (2) “สัตว์ที่ไปเรื่อยๆ

โค” ในบาลีหมายถึง (1) แผ่นดิน (the earth) (2) วัว (a cow, an ox, bull)

(๒) “บาล

บาลีเป็น “ปาล” (ปา-ละ) รากศัพท์มาจาก ปาลฺ (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย

: ปาลฺ + = ปาล แปลตามศัพท์ว่า “การรักษา” “ผู้รักษา” หมายถึง การปกครอง, การระวังรักษา, การเก็บรักษา, ยาม, ผู้รักษา, ผู้คุ้มครอง, ผู้ป้องกัน (government, guarding, keeping, a guard, keeper, guardian, protector)

โค + ปาล = โคปาล แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดูแลโค” หมายถึง คนต้อนวัวไปเลี้ยงตามทุ่งหญ้า

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โคปาล” ว่า a cowherd, a herdsman (นายโคบาล, คนเลี้ยงโค)

คำว่า “โคปาล” ในภาษาไทยใช้ว่า “โคบาล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โคบาล : (คำนาม) คนเลี้ยงวัว. (ป., ส. โคปาล).”

เมื่อพูดถึงคำว่า “โคบาล” เรามักนึกถึงคำอังกฤษว่า cowboy

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล cowboy ว่า คนขี่ม้าเลี้ยงวัว ในภาพยนตร์อเมริกัน, โคบาล

โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ไม่ได้แปล “โคปาล” หรือ “โคบาล” ว่า cowboy

ในคัมภีร์มีกล่าวถึง โคปาล > โคบาล หรือ “คาวบอย” ในแง่คิดทางธรรมว่า มัจจุราชกวาดต้อนชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไปเหมือนนายโคบาลต้อนโคไปสู่ที่หากิน และกล่าวถึงคนที่ศึกษาธรรม แต่ไม่ได้นำธรรมไปปฏิบัติ ว่าเหมือนนายโคบาลที่รับจ้างเลี้ยงโค รับแต่ค่าจ้าง แต่ไม่ได้ลิ้มเบญจโครส (นมโค 5 อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง)

: อย่าทำบุญเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงวัว

: เพราะมัจจุราชมาถึงตัว ท่านไม่ได้เอาค่าจ้างมาจ่าย

26-4-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย